พร้อมกับให้แปรสภาพจากกองทุนปิดเป็นกองทุนเปิด แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก.ที่เป็นนักลงทุนรายย่อยนั้น กองทุนฯ จะซื้อหน่วยลงทุนคืนกลับมาทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นจะพิจารณาสภาพตลาดอีกครั้งว่าจะเปิดให้ประชาชนกลับมาซื้อหน่วยลงทุนได้เมื่อใดในระยะเวลาที่เหมาะสม
สำหรับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ภายหลังจากการแปรสภาพ ก็เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ที่รัฐถือครองอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาวและมั่นคง โดยเป็นการลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศในเชิงเศรษฐกิจ และจำเป็นต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อลดภาระของรัฐในการจัดสรรเงินงบประมาณ อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ และเพิ่มทางเลือกในการออมและการลงทุนให้แก่ประชาชน
ทั้งนี้ กองทุนวายุภักษ์ 1 จัดกลุ่มนักลงทุนเป็น 2 กลุ่ม คือ ประเภท ก.นักลงทุนรายย่อย และประเภท ข.นักลงทุนสถาบัน ซึ่งทุนประเดิมเริ่มแรกในปี 46 อยู่ที่ 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ทรัพย์สินกองแรก 7 หมื่นล้านบาท และกองที่ 2 อีก 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเมื่อถึงวันที่ 30 มิ.ย.56 พบว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในกองแรก จากเดิม 7 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 380,354 ล้านบาท หรือมีอัตราเฉลี่ยการเติบโตของสินทรัพย์ถึง 14.96% ต่อปี ส่วนมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในกองที่ 2 จากเดิม 3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 187,014 ล้านบาท หรือมีอัตราเฉลี่ยการเติบโตของทรัพย์สิน 6.75% ต่อปี
"ตอนแรกที่เปิดตัวกองทุนวายุภักษ์นั้น จะบอกว่าเป็นกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยฝากประจำของธนาคารพาณิชย์เฉลี่ย 1 ปีบวก 1% แต่เฉลี่ยแล้วว่านับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ผลเฉลี่ยอยู่ที่ 5.82% ต่อปี" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ