"ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.40 เห็นด้วย เพราะรัฐบาลควรสนับสนุนสินค้าเกษตรทุกชนิดให้เท่าเทียมกันและมากขึ้น ราคาสินค้าเกษตรเกือบทุกชนิดมีราคาหน้าสวนต่ำมาก อีกทั้งต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น" เอกสารเผยแพร่ ระบุ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้องละ 34.00 ระบุว่า การที่รัฐบาลแสดงท่าทีไม่ทำตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุมชาวสวนยางและสวนปาล์ม เพราะราคาที่ชาวสวนเรียกร้องสูงกว่าราคาตลาดโลกมากเกินไป รองลงมาอีกร้อยละ 30.57 ระบุว่า เป็นเพราะผู้ชุมนุมอยู่ภาคใต้ ไม่ใช่ฐานเสียงหลักของพรรครัฐบาล และร้อยละ 23.46 ระบุว่า เป็นเพราะรัฐบาลไม่มีงบประมาณอุดหนุนในภาคเกษตรแล้ว
ส่วนสาเหตุที่กลุ่มชาวสวนยางและสวนปาล์มในภาคใต้มาชุมนุมครั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.14 ระบุว่า เป็นเพราะชาวสวนได้รับความเดือดร้อนจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ รองลงมาร้อยละ 25.51ระบุว่า เป็นเพราะรัฐบาลเคยรับปากว่าจะแก้ไขปัญหาให้แต่ไม่ทำตามสัญญา และอีกร้อยละ 20.33 เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อกดดันรัฐบาล
ทั้งนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลกับการชุมนุมของชาวสวนยางและสวนปาล์ม" จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 1,253 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 27-28 ส.ค.ที่ผ่านมา