ตัวเลขการส่งออกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และหากมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยใน 5 เดือนที่เหลือของปีนี้ ยังคงอยู่ในช่วง 19,800-20,000 ล้านเหรียญ สรอ./เดือน การส่งออกของไทยจะเติบโตเพียง 0.93 -1.37%
"ถือว่าไม่เป็นไปตามเป้าที่คาดไว้ว่า เดือนกรกฏาคมน่าจะเป็นเดือนที่การส่งออกขยายตัวได้ดีขึ้น เกิดจากปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลให้ภาคการบริโภคชะลอตัวลง รวมไปถึงสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ และซีเรียที่อาจจะมีผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวน อาจจะส่งผลต่อภาคการขนส่งโลจิสติกส์" นายนพพร กล่าว
สำหรับปัจจัยบวกในช่วงครึ่งปีหลังนั้น มองว่าการที่เงินบาทอ่อนค่าลงจะช่วยมีส่วนทำให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ พร้อมควรกระตุ้นการส่งออกตามแนวชายแดน และกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา, ลาว, พม่า, มาเลเซีย และเวียดนาม ให้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวยังมีความต้องการสินค้าทุนและวัตถุดิบสูงอยู่ โดบเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกรวมไปยังกลุ่มดังกล่าวในช่วงครึ่งปีแรก(ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ที่ 12.83% ซึ่งสูงกว่าการส่งออกไปสหรัฐฯ และอียู ทำให้คาดว่าปีนี้การส่งออกไปในกลุ่มดังกล่าวจะเติบโตได้ถึง 6.6 %
นอกจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องขจัดปัญหาและต้นทุนที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศซึ่งผู้ประกอบการส่งออกต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
นายนพพร ระบุว่า หากมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยไตรมาสที่ 3 ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ 19,000-20,000 ล้านเหรียญ สรอ./เดือน สรท.อาจพิจารณาทบทวนเป้าการส่งออกใหม่อีกครั้ง