(เพิ่มเติม) กนง.ระบุคงดบ.หลังมองการผ่อนคลายเพิ่มอาจมีผลไม่มาก, ศก.ไทยปี 56-57 โตต่ำกว่าคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 4, 2013 09:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งที่ 6 /2556 ในการประชุมวันที่ 21 ส.ค.56 ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี แม้จะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 56 และ 57 อาจจะขยายตัวต่ากว่าประมาณการเดิม แต่กรรมการเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าประสิทธิผลของการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจมีไม่มากนักในปัจจุบันเมื่อเทียบกับต้นทุน

เนื่องจากการชะลอลงของการบริโภคในประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ภาคครัวเรือน ได้ก่อหนี้ในระดับสูงแล้ว และนำ demand อนาคตส่วนหนึ่งมาใช้ล่วงหน้าด้วย การกระตุ้นเพิ่มเติม จึงอาจมีผลจำกัดและกลับเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินได้ การส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งเริ่มมีสัญญาณว่าจะทยอยปรับ ดีขึ้นในระยะต่อไป ในปัจจุบันที่ภาวะเศรษฐกิจการเงินโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง และภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายยังมีความผันผวน การผ่อนคลายนโยบายการเงินอาจเป็นการเพิ่มความไม่แน่นอนต่อตลาด ทำให้ผลในแง่การเสริมความมั่นใจให้กับภาคเอกชนมีจำกัด

(4) อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่แท้จริงติดลบมาอย่างต่อเนื่อง การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอาจลดแรงจูงใจในการออม จนกระทบการลงทุนและศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะยาวได้ และ (5) การชะลอตัวของเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลจากข้อจำกัดด้านอุปทาน การเพิ่มแรงกระตุ้นด้านอุปสงค์ด้วยนโยบายการเงินจึงอาจไม่ได้ผลเต็มที่ หากไม่มีการเร่งปรับปรุงเชิงโครงสร้างเพื่อพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจควบคู่กัน

อย่างไรก็ตาม มีกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า ผ่านการสนับสนุนรายได้ของแรงงานและช่วยลดภาระหนี้ของภาคครัวเรือน โดยผลต่อเศรษฐกิจในปีนี้อาจมีจำกัด เนื่องจากนโยบายการเงินใช้เวลาในการส่งผ่าน ประกอบกับในภาวะปัจจุบันระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศคงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผลต่อภาวะเงินทุนเคลื่อนย้าย

ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ อภิปรายถึงความผันผวนในตลาดการเงินของประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซีย อินเดีย และมาเลเซีย โดยสองประเทศแรกมีความเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่มาเลเซียมีความเสี่ยงจากภาคการคลังที่อ่อนแอลง ทั้งนี้ การถือครองพันธบัตร ของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตรมาเลเซียมีสัดส่วนค่อนข้างสูง ทาให้มาเลเซียมีความเสี่ยงทางด้านความผันผวนของค่าเงินจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน แม้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี

ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวจากการฟื้นตัวของ ภาคการผลิตและภาคที่อยู่อาศัย รวมทั้งฐานะการเงินของภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร มีเสถียรภาพมากขึ้นและมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตามภาคการผลิตที่ปรับดีขึ้น โดยเศรษฐกิจในไตรมาส 2/56 กลับมาขยายตัวเป็น ครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 3/54 อย่างไรก็ดี ฐานะการเงินของภาคเอกชนและภาคสถาบันการเงินยังคงอ่อนแอ ทำให้ยังต้องอาศัยเวลาในการฟื้นตัว

เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป จากแรงส่งของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ เศรษฐกิจจีนชะลอลงในไตรมาสที่ 2 แต่ข้อมูลล่าสุดชี้ว่ามีสัญญาณปรับดีขึ้น และคาดว่าแรงส่งในระยะต่อไปจะมาจาก การลงทุนของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ปรับลดลงเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน เศรษฐกิจเอเชีย อุปสงค์ภายในประเทศชะลอลง ขณะที่การส่งออกโดยรวมยังคงอ่อนแอ แม้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกในบางประเทศ สำหรับแรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่าใกล้เคียงเดิม และธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ส่วนภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/56 สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในระยะสั้นใกล้เคียงกับที่คาด และคาดว่าอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกจะทยอยฟื้นตัวในระยะข้างหน้า ขณะที่ปัญหาเชิงโครงสร้างอาจมีนัยต่อศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยด้วย ทำให้ไทยอาจไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอต่อเนื่อง ตามการใช้จ่ายสินค้าคงทนโดยเฉพาะในหมวดยานยนต์ที่ลดลงนานกว่าคาด หลังจากที่เร่งตัวมากในช่วงก่อนหน้าจากมาตรการรถคันแรก อีกทั้งสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภคมากขึ้น โดยการผิดนัดชาระหนี้เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้าง ซึ่งอาจ มีผลลดทอนการใช้จ่ายสินค้าคงทนด้วยเช่นกัน

ด้านการส่งออกยังไม่มีทิศทางดีขึ้นชัดเจน โดยในระยะต่อไปบางอุตสาหกรรมยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถ การแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งทำให้แนวโน้มจำนวนเงินลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวปรับลดลง สำหรับภาครัฐ แม้ยังมีบทบาทช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ แต่คาดว่าจะยังไม่มีแรงกระตุ้นเพิ่มเติมอย่าง มีนัยสาคัญในระยะสั้น

กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 56 และ 57 อาจจะขยายตัวต่ากว่าประมาณการเดิม โดยการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าอาจชะลอตัวนานกว่าคาด ประกอบกับ แรงกระตุ้นจากภาครัฐยังมีความเสี่ยงที่จะล่าช้า อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น แม้เศรษฐกิจจะชะลอลง แต่ก็เป็นอัตราการขยายตัวที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน และเศรษฐกิจยังมีแรงขับเคลื่อนต่อไปได้ภายใต้ภาวะการเงินที่ผ่อนปรนซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ตามอุปสงค์และต้นทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกรกฎาคมออกมาต่ำกว่าคาด

ขณะที่กรรมการฯ บางท่านมีความเป็นห่วงผลกระทบของสินเชื่อที่มีรถยนต์ค้าประกัน ว่าหากการผิดนัด ชำระหนี้สินเชื่อดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อราคารถยนต์มือสองในตลาด มูลค่าหลักประกัน และฐานะทางการเงินของสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ได้ในที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาราคารถยนต์ มือสองได้ปรับลดลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม สินเชื่อรถยนต์มือสองยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย เทียบกับสินเชื่อรถยนต์ใหม่ และส่วนหนึ่งของผู้กู้สินเชื่อรถยนต์ใหม่คือตัวแทนจำหน่าย ทำให้ผลกระทบน่าจะอยู่ในวงจำกัดและไม่ได้เป็นความเสี่ยงเชิงระบบ

นอกจากนั้น กรรมการฯ บางท่านเห็นว่าจำเป็นต้องติดตามการปล่อยสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่ใช้รถยนต์เป็นหลักประกัน (Car-for-cash loans) ซึ่งปัจจุบันกฎเกณฑ์ค่อนข้างผ่อนคลาย และ ใช้เพียงทะเบียนรถยนต์เป็นหลักฐาน รวมทั้งสินเชื่อข้าราชการผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ซึ่งอยู่นอกเหนือการกำกับของ ธปท.

กนง.ยังอภิปรายถึงผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่มีต่อเศรษฐกิจไทย หลังการปรับลดมาตรการ QE ของสหรัฐฯ (QE Tapering) โดยส่วนหนึ่งเห็นว่าปัจจัยที่จะมีผลต่อสัดส่วนของการลงทุนในสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) ขึ้นอยู่กับการสื่อสารของธนาคารกลางสหรัฐฯ เกี่ยวกับความเร็ว ขั้นตอนและยุทธศาสตร์ของการลดปริมาณ QE และ พื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไป

สำหรับประเทศไทยเห็นว่ายังไม่สามารถวางใจได้ กรรมการบางท่านเห็นว่าอีกปัจจัยที่มีผลมากต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากตลาดเกิดใหม่ในช่วงนี้ คือ การคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศคงไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากในระยะสั้นจนมีผลต่อนักลงทุน อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติบางส่วน มักพิจารณาตลาดเอเชียเป็นกลุ่ม ไม่ได้แยกแยะพื้นฐานแต่ละประเทศโดยละเอียดนัก จึงจำเป็นต้องติดตามแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดต่อไป กรรมการท่านหนึ่งเห็นว่าความผันผวนของค่าเงินบาทจะยังคงมีอยู่ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถวางใจได้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจะอยู่ ในระดับต่ำต่อเนื่องในระยะข้างหน้าการดำเนินนโยบายที่เหมาะสม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ