"คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 73.5 กังวลมากถึงมากที่สุดต่อราคาสินค้าที่อาจจะสูงขึ้น หลังมีการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-ค่าทางด่วน-ค่าไฟ ขณะที่ร้อยละ 26.5 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด เมื่อถามต่อว่าการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-ค่าทางด่วน-ค่าไฟ จะส่งผลกระทบต่อภาระทางการเงินของท่านมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 75.8 เห็นว่าจะกระทบมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 24.2 เห็นว่าจะกระทบน้อยถึงน้อยที่สุด" เอกสารเผยแพร่ ระบุ
โดยคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.2 เห็นว่า ราคาข้าวของแพงขึ้นในปัจจุบันส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งร้อยละ 40.0 ระบุว่าส่งผลให้มีเงินออมน้อยลงกว่าเดิม และร้อยละ 29.2 ระบุว่าแทบไม่มีเงินออมเลย ขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุว่ามีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 12.8 ที่เห็นว่าไม่ส่งผล
ขณะที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.0 คิดว่า รัฐบาลไม่ได้มีการแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ขณะที่ร้อยละ 11.0 เห็นว่ารัฐบาลได้แก้ปัญหาแล้ว แต่อีกร้อยละ 35.0 ไม่แน่ใจ
สิ่งที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.1 อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุดในตอนนี้ คือ ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น รองลงมาร้อยละ 46.9 คือ ปัญหาจราจรและการเดินทาง ตามด้วยร้อยละ 44.9 คือ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน, ร้อยละ 27.4 คือ การปฏิรูปการเมือง สร้างความปรองดอง, ร้อยละ 25.5 คือ การแก้ปัญหาสินค้าราคาเกษตรตกต่ำ และร้อยละ 7.2 คือ การแก้รัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ กรถุงเทพโพลล์ได้สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ในหัวข้อ "คนกรุงกับปัญหาค่าครองชีพหลังรัฐขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-ค่าทางด่วน-ค่าไฟ" หลังมีการประกาศขึ้นราคาเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,188 คน