นอกจากนี้ยังมีความสุ่มเสี่ยงทางการเมืองในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อจิตวิทยาเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงกังวลต่อปัญหาความรุนแรงในซีเรีย
“ในช่วงนี้มองว่ารัฐบาลจำเป็นต้องพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวในไตรมาส 4 และเร่งการลงทุนเพื่อให้มีเม็ดเงินกระจายลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้ดี" นายธนวรรธน์ กล่าว
ส่วนสถานการณ์การชุมนุมของชาวสวนยางในภาคใต้หลายจังหวัดที่ยังมีการปิดถนน รวมทั้งเส้นทางรถไฟอยู่ในขณะนี้ นายธนวรรธน์ มองว่า หากสถานการณ์การชุมนุมมีความยืดเยื้อนานเกินกว่า 1 เดือน รวมทั้งมีเหตุการณ์ยกระดับความรุนแรงถึงขั้นปิดสนามบิน อาจจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าถึง 1 หมื่นล้านบาท และกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)ในปีนี้ให้ลดลงจากที่คาดไว้ 0.1% แต่หากสถานการณ์การชุมนุมสามารถเจรจากับรัฐบาลและมีข้อยุติได้ภายใน 1 สัปดาห์ก็เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
“ถ้าเจรจาเร็ว สลายเร็ว ก็จะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ถ้าม็อบยาวนานกว่า 1 เดือน จะกลายเป็นความกังวลทางการเมืองให้คนชะลอการจับจ่ายใช้สอย การท่องเที่ยวในภาคใต้ที่จะเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น การขนส่งสินค้าอาหารทะเล ยางพารา ปูนซีเมนต์รวมทั้งธุรกิจต่างๆ ในภาคใต้ ซึ่งอาจเสียหายราว 1 หมื่นล้านบาท กระทบ GDP ทั้งปีให้ลดลง 0.1%"นายธนวรรธน์ กล่าว