1.The Export-Import Bank of Korea (KEXIM) วงเงิน 12,000 ล้านบาท
2.Korea Finance Corporation(KoFC) วงเงิน 10,000 ล้านบาท
3.Citigroup Inc.(Citi) วงเงิน 8,000 ล้านบาท
4.First Gulf Bank(FGB) วงเงิน 8,000 ล้านบาท
5.Korea Development Bank(KDB) วงเงิน 8,000 ล้านบาท
6.Korea Gas Corporation(KOGAS) วงเงิน 8,000 ล้านบาท
7.ternational Bank for Reconstruction and Development(IBRD) วงเงิน 5,000 ล้านบาท
8.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) วงเงิน 3,000 ล้านบาท
การพิจารณาอนุญาตให้นิติบุคคลต่างประเทศสามารถออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทยในแต่ละครั้ง กระทรวงการคลังได้พิจารณาถึงผลกระทบต่อการออกหุ้นกู้ของภาคเอกชนไทย โอกาสที่นักลงทุนในประเทศสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม และโอกาสในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยแล้วเป็นอย่างดี
ทั้งนี้เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตดำเนินการออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระทรวงการคลังจึงกำหนดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือตัวแทนจะต้องยื่นหนังสือรายงานสถานะความคืบหน้าการเตรียมการออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทยต่อกระทรวงการคลังภายในเดือนพฤศจิกายน 2556 และกุมภาพันธ์ 2557 โดยกระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาทบทวนวงเงินที่ได้รับอนุญาตออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย เพื่อให้สามารถนำวงเงินมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ยื่นขออนุญาตรายใหม่ต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ที่จะระงับการอนุญาตในกรณีที่สถานภาพหรือสถานะทางการเงินของผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับผู้มีความประสงค์จะขออนุญาตในรอบถัดไปสามารถยื่นหนังสือแสดงความจำนงได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2556