โดยปัจจุบันกรมธนารักษ์ยังดำเนินการตามหลักเกณฑ์ทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ กำหนดสูงสุดไม่เกิน 30 ปีซึ่งนักลงทุนมองว่าน้อยไป ไม่สร้างความมั่นใจที่จะลงทุนสร้างโครงการใหญ่ แต่ในขณะที่มีการประกาศใช้บังคับพ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 แล้ว กฎหมายดังกล่าวตราขึ้นเพื่อรองรับการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในระยะยาว ให้สามารถจัดให้เช่าเกิน 30 ปีได้แต่ไม่เกิน 50 ปี และยังสามารถที่จะตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีกได้มีกำหนดไม่เกิน 50 ปี ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนอย่างมาก
นอกจากเรื่องอายุสัญญาเช่าแล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้สิทธิการเช่าสามารถโอนสิทธิตกทอดทางมรดก ให้เช่าช่วง และใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนองได้ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนมาลงทุนในที่ราชพัสดุได้ จึงได้สั่งการให้ศึกษากฎหมายฉบับดังกล่าวและนำมาปรับใช้ในการบริหารที่ราชพัสดุเพื่อให้สามารถจัดให้เช่าเป็นระยะเวลา 50 ปีได้ โดยเริ่มจากโครงการที่ดี เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สร้างรายได้ให้ประเทศเป็นโครงการนำร่องเพื่อให้นักลงทุนมั่นใจ
นายนริศ กล่าวว่า นอกจากกฎหมายฉบับดังกล่าวซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่กรมธนารักษ์พยายามสร้างมิติใหม่ในการบริหารที่ราชพัสดุแล้ว ยังได้มีการสั่งการให้ศึกษาหาแนวทางอื่นๆ อีก เพื่อที่จะได้สร้างแรงจูงใจให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยยึดกรอบแนวนโยบายของ รมว.คลัง ในการบริหารที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม