ดังนั้น จึงต้องการให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครอง เพราะหากศาลสั่งระงับการปรับขึ้นราคาก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารของรัฐบาล เพราะแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการเยียวยาให้กับประชาชนก็ไม่มีประโยชน์เพราะตั้งแต่รัฐบาลประกาศว่าจะปรับขึ้นราคาพลังงานสินค้าทุกชนิดมีการปรับราคาขึ้นไปหมดแล้ว
นอกจากนี้ จะชี้ให้ศาลเห็นว่าปัจจุบันการกำกับดูแลกิจการของรัฐ กำไรในกิจการบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องของราคาก๊าซคือเรื่องของท่อส่งก๊าซซึ่งปตท.ได้รับสัมปทาน และจะได้เงินดูแลค่าท่อเพียงปีละ 150 ล้านบาทแต่สามารถทำกำไรได้จากกิจการของการผ่านท่อได้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะกำไรมากเกินควร จะยึดโยงไปถึงเรื่องค่าต้นทุนไฟฟ้า
ด้านน.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพ กล่าวว่า สถานะของกองทุนน้ำมันเป็นกองทุนที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลกองทุนน้ำมันอยู่ได้รับงบประมาณในแต่ละปีจำนวนไม่มาก แต่กลับต้องดูแลกองทุนที่มีการเก็บเงินที่เป็นเสมือนภาษีในวงเงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการของกองทุนน้ำมันส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันในท้องตลาดบิดเบือน
"การดำเนินการในเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ปตท.เอาเปรียบคนอื่น ในขณะที่กิจการบริษัทปิโตรเคมีในเครือของตัวเองใช้ LPG ในราคาที่ถูกกว่า แต่คนอื่นๆ กลับต้องใช้ในราคาที่แพงกว่า และหากรัฐต้องการข้อมูลอะไรก็สอบถามแต่ ปตท.เพียงหน่วยงานเดียวโดยไม่มีหน่วยงานอื่นๆมาสอบทาน"
ขณะที่น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมาฟ้องร้องเนื่องจากเรื่องพลังงานก๊าซเป็นธุรกิจผูกขาดที่ไม่มีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เป็นการฟังความข้างเดียว หลายครั้งหลายหนแล้วที่เรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาดีเบตข้อมูล แต่ไม่เคยได้รับการตอบสนองจึงจำเป็นต้องขออำนาจศาลสั่งให้ฝ่ายรัฐ หรือ ปตท.ออกมาเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ซึ่งหากที่ผ่านมาฝ่ายปตท. หรือฝ่ายกระทรวงพลังงานออกมาชี้แจงพร้อมกับข้อโต้แย้งของภาคเอกชนก็จะไม่คดีในวันนี้
คดีนี้น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ กับพวกรวม 5 คน ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี, คณะรัฐมนตรี, คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.), รมว.พลังงาน และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดี 1-5 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนมติ ครม.วันที่ 13 ส.ค.56 ที่มีมติให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม(LPG) ภาคครัวเรือนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่