โดยเริ่มต้นที่การศึกษาทำทีโออาร์ให้ชัดเจนและสอดรับกับความต้องการจริง ส่วนที่แม่สายจะต้องดูกฎเกณฑ์กติกาของทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ จีน และลาว รวมถึงต้องมีการปรึกษาหารือกันทั้ง 4 ประเทศ และวางแผนว่าทำเขตเศรษฐกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะรับไปดำเนินการอีกครั้งถึงความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปทั้งหมด จะให้ทาง สภาพัฒน์ ศึกษาแนวทางในการวางกรอบหลักเกณฑ์ ภายใน 300 วัน ก่อนที่จะมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไม่ได้เน้นเรื่องการแก้ไขกฎหมาย แต่เป็นการศึกษาภาพรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษและเฉพาะแต่ละพื้นที่ในแม่สอด แม่สายและเชียงของเป็นโมเดลในการดำเนินการ
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ระหว่างไทยและเมียนมาร์ ซึ่งได้กำหนดโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งจะเป็นประตูเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ“นครแม่สอด” และเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ,นครเกาะสมุย สุวรรณภูมิ และอื่นๆ
ทั้งนี้ ประเทศไทย จะได้ประโยชน์ อย่างมากเมื่อมีการยกฐานะและพัฒนาท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีความพร้อมเช่น “นครแม่สอด” เพราะจะเกิดการลงทุนในท้องถิ่นพิเศษ โดยภาพรวม เช่น เพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน-การท่องเที่ยว เนื่องจากนักธุรกิจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติและนักลงทุนมีความมั่นใจที่ต้องการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในท้องถิ่นพิเศษ เพราะคำว่าท้องถิ่นพิเศษ ย่อมมีความพิเศษในการพัฒนาและการดำเนินกิจกรรมที่มีความเป็นพิเศษในตัวเองอยู่แล้ว และก่อให้เกิดรายได้ทั้งในภาพการลงทุนและภาคของประชาชนในท้องถิ่นพิเศษ มีการกระจายรายได้และเงินไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นพิเศษ ทุกพื้นที่ เกิดรายได้ในการเก็บภาษีอากร มาพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติเพิ่มทวีคูณขึ้นอีกเท่าตัว และประเทศได้รับการพัฒนาที่เป็นการต่อเนื่องจากท้องถิ่นพิเศษด้านเทคโนโลยี-สาธารณูปโภค-การค้า การลงทุน