ทั้งนี้ สถานภาพและความสำคัญของภาคเกษตรไทยที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีคนไทยที่อาศัยอยู่ในภาคการเกษตรสูงถึงร้อยละ 36 ของประชากรทั้งหมด และเป็นภาคการผลิตที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศในสัดส่วนที่สูง อีกทั้งไทยยังเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออกที่มีมูลค่าสูงอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังได้มีการเตรียมพร้อมในด้านความมั่นคงอาหารของชาติโดยการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2556—2559) เพื่อให้คนไทยมีอาหารที่มีคุณภาพเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอและยั่งยืน
นอกจากนี้เรื่องการบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการผลิตทางการเกษตรของไทย กรมชลประทานได้กำหนดแผนการบริหารน้ำบนพื้นฐานของแผนการจัดสรรน้ำตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ โดยมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจากคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีการบริหารจัดการน้ำและการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ในภาพรวมมากที่สุด
"การสัมมนาครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นอย่างมากที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนการนำเสนอรายงานรายประเทศและมีการนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ความมั่นคงอาหาร แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และข้อเสนอแนะความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ซึ่งผลลัพธ์จากการสัมมนาและข้อเสนอแนะ (Recommendation) จะนำเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนบวกสามเพื่อทราบต่อไป"เลขาธิการ กล่าว
สำหรับสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน พร้อมกับการส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการระบบชลประทานเพื่อการเกษตรโดยให้เกษตรกรและองค์กรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งสนับสนุนให้ MAFF ญี่ปุ่นดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาบุคลากรภาคเกษตรให้แก่อาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้ความสำเร็จในด้านการจัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตรร่วมกัน เพื่อพัฒนาการผลิตทางการเกษตรและยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรในอนาคต