ทั้งนี้ ธปท.ได้ติดตามการซื้อขายทองคำในรูปแบบต่างๆอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการซื้อขายทองคำที่มีการชำระราคาในทันที (spot) ปัจจุบันยังไม่ไมีกฏหมายที่คอยควบคุม ส่วนการซื้อขายทองคำในตลาดล่วงหน้าอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 ส่วนการซื้อขายทองคำในตลาดทองคำทั่วไปอยู่ภายใต้พ.ร.บ. เงินตรา ซึ่ง ธปท.ได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีการเก็งกำไรอัตราแลกเลี่ยน เนื่องจากตัวเลขการซื้อขายทองคำมีจำนวนน้อยกว่าตัวเลขการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทาง ธปท. จึงได้ติดตามตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด
"ธปท.ได้มีการเข้าไปดูแลการซื้อขายทองคำในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นในส่วนที่เป็นการซื้อขายทองคำ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ทอง ซึ่งทาง ธปท. อยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อที่จะหากฏมาควบคุมการซื้อขายนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับผู้บริโภค ที่ปัจจุบันประชาชนมีการซื้อขายออนไลน์แบบไม่ได้ส่งมอบของจริงๆ เพราะในปัจจุบันมักจะเป็นการซื้อขายทองคำเพื่อที่จะเป็นการเก็งกำไร ไม่ได้เป็นการซื้อเพื่อสวมไส่เหมือนอดีต การเข้ามากำกับดูแลในครั้งไม่ได้เป็นเหตุการณ์พิเศษ แต่เป็นเพียงการเข้ามาดูแลและติดตามการซื้อขายปกติของเราอยู่แล้ว เพื่อที่จะดูแลผู้บริโภคไม่ให้เกิดความเสียหาย"นายประสาร กล่าว
นายประสาร ยังกล่าวถึงส่วนต่างรายได้อัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของประเทศไทยที่ขณะนี้อยู่ในระดับ 2.4-2.5% ว่า ถือว่าอยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคต NIM จะปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่การแข่งขันมีมากขึ้นก็จะผลักดันให้ธนาคารต่าง ๆ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและต้นทุนปรับลดลง ส่งผลให้ NIM ปรับตัวสูงขึ้นได้
"เราหวังว่าการแข่งขันในตลาดน่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีก เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพด้านต่างๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนปรับลดต่ำลง และจะส่งผลให้ NIM ของประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไปด้วย"นายประสาร กล่าว