ทั้งนี้ เอ็มโอยูดังกล่าวยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการ แต่คาดว่าภายในเดือนพ.ย.นี้ จะมีข้อสรุปเบื้องต้นถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน
รมว.คมนาคม กล่าวว่า เอ็มโอยูที่ลงนามกับจีนเป็นการแสดงเจตนาดีร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยจีนมองเห็นยุทธศาสตร์ของไทย จึงต้องการเข้ามาร่วมดำเนินการ ขณะที่ประเทศอื่นๆ หากสนใจแนวทางการแลกเปลี่ยนด้วยสินค้าหรือบาร์เตอร์เทรดก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเสนอมาเพื่อให้มีการศึกษาร่วมกันก่อน
"ผู้นำจีนต้องการสนับสนุนให้การเดินทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภูมิภาคนี้ โดยระบุว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่ดีที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงของการเดินทาง ซึ่งไทยยืนยันว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เกิดขึ้นแน่นอน ไม่ได้ล่าช้าไปกว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และแม้ว่าการช่วงแรกจะศึกษาความเหมาะสมช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน แต่ช่วงที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย การก่อสร้างจะเร็วมาก" นายชัชชาติ กล่าว