ด้านนายชาญวิทย์ อาจสมิติ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า ศูนย์คมนาคมพหลโยธินมีเนื้อที่รวม 2,325 ไร่ เป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) โดยปัจจุบันมีปริมาณการเดินทางเข้าพื้นที่วันละ 201,025 เที่ยว และคาดว่า ในปี 2560 จะมีปริมาณการเดินทางสูงถึงวันละ 297,844 เที่ยว ซึ่งจำเป็นต้องจัดระบบในการเชื่อมโยงการเดินทาง โดยใช้พื้นที่ประมาณ 127 ไร่ รวมทั้งจัดระบบขนส่งรองเพื่อรองรับการเดินทางภายในพื้นที่เอง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าระบบขนส่งบีอาร์ทีคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุดพิจารณาจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ รองลงมาคือ รถรางในระดับพื้นดิน(TRAM)
ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ 127 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ 196,434 ตร.ม.นั้น คาดว่า ร.ฟ.ท.จะมีผลตอบแทนราว 4,841 ล้านบาท หากไม่พัฒนาจะอยู่ที่ 3,728 ล้านบาท หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 46% ของมูลค่าที่ดินที่มีอยู่ ขณะที่เอกชนผู้เช่าที่จะต้องลงทุนประมาณ 169,378 ล้านบาท และคาดว่าจะได้ผลตอบแทนประมาณ 487,830 ล้านบาท