อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลด้านบวกต่อดัชนีผลผลิตอุสาหกรรมรวม เช่น บุหรี่ ปิโตรเลียม HDD เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่ส่งผบด้านลบ เช่น รถยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เบียร์ เนื้อไก่แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนม.ค.-ก.ย. 56 ลดลง 1.87%
ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ย.56 อยู่ที่ 64.03 ลดลงจาก 65.49 ในเดือน ก.ย.55 ส่วนอัตราการใช้กำลังผลิต ม.ค.-ก.ย. 56 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 65.15 ลดลงจาก 65.83 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
"แนวโน้มปี 56 เป็นไปในทิศทางเดียวกับสำนักเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งโดยรวมคงไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ตอนต้นปี โดยเมื่อก.ค. ทางสศอ.ได้ปรับลดประมาณการลงมาเหลือโต 0.5-1% แต่ณ ปัจจุบันคาดว่าโดยรวมไม่น่าจะเกิน 0%" นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าว
สำหรับปัจจัยลบ ได้แก่ ฐานปี 55สูงมากจากการเร่งผลิตเพื่อสนองคำสั่งซื้อหลังจากเกิดน้ำท่วมเมื่อปี 54, ดีมานด์ประเทศคู่ค้าชะลอตัวลงจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้สินค้าหลายตัวมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ส่วนปัจจัยบวกในระยะเวลาที่เหลือของปี ได้แก่ เทศกาลรื่นเริงช่วงปลายปี และการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ
ขณะที่ปัจจัยการเมือง นายสมชาย กล่าวว่า มองว่าเป็นปัจจัยกระทบระยะสั้น เพราะโดยรวมประเทศไทยผ่านเรื่องนี้มามาก