ส่วนกรณีเอกสารสิทธิ์ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบแบ่งเป็นพื้นที่ในป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 36,023 ราย มีพื้นที่รวม 44,9000 ไร่ เป็นพื้นที่เปิดกรีด 318,000 ไร่โดยให้กรมป่าไม้เป็นผู้ตรวจสอบสิทธิ์การใช้พื้นที่ป่า และมีเกษตรกรที่มีเอกสารการเสียภาษีพื้นที่แต่ไม่มีผู้รับรอง 40,322 ราย พื้นที่ 776,902ไร่ โดยให้คณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้จัดการรับรองเอกสารให้สมบูรณ์
ในส่วนของกลุ่มผู้ชุมนุมในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เรียกร้องในด้านเอกสารสิทธิ์นั้น จากข้อมูลพบว่ามีเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เพียง 35 รายและได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำความเจ้าใจกับเกษตรกรผู้ชุมนุมแล้ว ซึ่งการสนับสนุนเงินค่าปัจจัยการผลิตจะสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกที่ถูกต้อง ตามกฎหมายเท่านั้นโดยกรมป่าไม้จะเป็นผู้จัดการในพื้นที่ของกรมป่าไม้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อ ไป
สำหรับมาตรการจัดการยางกลางน้ำขณะนี้มีสหกรณ์การยางเสนอโครงการเพื่อขอกู้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อก่อสร้าง โรงงานแปรรูปยางพารา รวม 6,600 ล้าน ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเรื่องต่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส.เป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินใน 5,000 ล้านบาทตามโครงการต่อไป ส่วนการตรวจสอบการใช้ยางพาราของภาครัฐ จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยงานของรัฐมีโครงการใช้ยางรวม 14 โครงการในปีงบประมาณ 2557 รวมวงเงิน 5,800 ล้านบาท ใช้ยางพาราประมาณ 6,300 ตัน โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2558 จะขยายโครงการการใช้ยางในหน่วยงานของรัฐให้มากขึ้น