"ฝ่ายญี่ปุ่นขอให้ภาครัฐช่วยขยายเส้นทางการจราจรทางบกให้มากขึ้น และเร่งปรับปรุงระบบขนส่งทางบกที่ใช้เดินทางมายังท่าเรือแหลมฉบัง และจากท่าเรือแหลมฉบังไปสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อให้การขนส่งสินค้าสามารถดำเนินการได้ตรงเวลา รวมทั้งการพัฒนาระบบการขนส่งทางบกไปยังประเทศเมียนมาร์ ซึ่งจะเป็นตลาดสำคัญในอนาคตด้วย" นายโชคดี กล่าว
ที่ประชุมฯ ยังมีการหารือเรื่องการพัฒนาให้เกิดความโปร่งใสและการดำเนินการด้านศุลกากร อาทิ การปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษให้มีความทันสมัยและตรงกับข้อมูลภาษาไทย และการให้บริการคลินิกศุลกากร ต้น
ส่วนประเด็นด้านแรงงานนั้นได้หารือถึงเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือการอุดหนุนสำหรับนายจ้างที่มีการฝึกอบรม หรือพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการลดภาษี หรือการให้การอุดหนุนโดยภาครัฐ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการปรับปรุงการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพแรงงาน
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงเรื่องการออกใบอนุญาตทำงาน การตั้งศูนย์กลางการให้คำปรึกษาในเรื่องของกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค(ROH) ศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ(IPC) และศูนย์บริหารเงิน(TC) รวมถึงการขอให้ฝ่ายไทยคงมาตรการเพื่อป้องกันน้ำท่วมไว้ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการทำประกันภัยพิบัติภายใต้กรมธรรมประกันภัยพิบัติ ทั้งนี้ คณะนักธุรกิจญี่ปุ่นสนับสนุนเรื่องการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและประเทศคู่เจรจาอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป อินเดีย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศไทย
สำหรับการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย พบว่า ในช่วงระหว่างปี 2551-2555 (5 ปี) มีโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 2,386 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 852,646 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์, โครงการลงทุนขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุนสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท อาทิ โครงการผลิตยางรถยนต์ของบริษัท บริดจสโตน เงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท โครงการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะของบริษัท ฟูรุคาว่า เงินลงทุน 19,000 ล้านบาท, โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลและชิ้นส่วนของบริษัทสยามโตโยต้า เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท, โครงการผลิตรถกระบะของบริษัท นิสสัน เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท, โครงการผลิตรถยนต์ของบริษัท โตโยต้า เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท, โครงการผลิตกล้องดิจิตอลและชิ้นส่วนของบริษัทนิคอน เงินลงทุน 12,000 ล้านบาท, โครงการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ฟูจิคุระ เงินลงทุน 12,000 ล้านบาท และโครงการผลิตชุดเกียร์รถยนต์ของบริษัทมาสด้า เงินลงทุน 11,000 ล้านบาท เป็นต้น ส่วนในช่วง 9 เดือนปี 2556 มีโครงการจากญี่ปุ่นยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 448 โครงการ เงินลงทุนรวม 211,350 ล้านบาท
สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วยนายคิมิโนะริ อิวามะ อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นประธาน พร้อมด้วย นายเซ็ทซึโอะ อิอูจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(JTRO) และนายซูซุมุ อูเนโนะ ประธานคณะกรรมการบริหารหอการค้าญี่ปุ่น(JCC) ส่วนฝ่ายไทย ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ การท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ กรมการกงสุลสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)