ครม.ไฟเขียวปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา มีผลปีภาษี 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 19, 2013 16:04 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติหลักการ
ร่าง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตรา
ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนิน
การต่อไปได้

โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 35

                  อัตราภาษีเงินได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน                     อัตราภาษีตามข้อเสนอ
                  ตาม พรก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
                      (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534

          เงินได้สุทธิตั้งแต่(บาท)     อัตราภาษีเงินได้ที่ใช้ปัจจุบัน     เงินได้สุทธิตั้งแต่(บาท)     อัตราภาษีตามข้อเสนอ
              0-100,000                  5                 0-300,000                 5
          100,001-500,000               10              300,001-500,000             10
                                                        500,001-750,000             15
          500,001-1,000,000             20              750,001-1,000,000           20
                                                        1,000,001-2,000,000         25
        1,000,001-4,000,000             30              2,000,001-4,000,000         30
           4,000,001 ขึ้นไป               37                 4,000,001 ขึ้นไป           35
          โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงสร้างภาษีใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้ปี 2556 โดยยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 57
โดยจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีรายได้น้อยได้รับส่วนลดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ลดหลั่นไปจนถึงร้อยละ 5 ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยผู้มีรายได้ไม่เกินปีละ 1.5 แสนบาทมีมากถึง 6 ล้าน
ราย ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายให้รัฐมีรายได้เพิ่มจากการเก็บภาษีในส่วนอื่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาทดแทนรายได้ที่หายไป
จากการปรับโครงสร้างดังกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ