เนื่องจากเหตุผล 3 ประเด็น ประเด็นแรก คือ การให้การส่งเสริมผู้ผลิตโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)ที่ได้อนุมัติส่งเสริม บริษัท มิชลิน ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จ.สงขลา โดยโรงงานนี้ได้เปิดดำเนินการไปเมื่อเดือนตุลาคม 56 ที่ผ่านมา เป็นโรงงานผลิตยางขั้นกลางชนิดพิเศษเพื่อส่งกลับไปยังฝรั่งเศส ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะเพิ่มความต้องการใช้ยางอีกปีละ 4 หมื่นตันต่อปี
ประเด็นที่ 2 ผู้ผลิตมีแนวโน้มจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นตามยอดขายที่จะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโดยอุตสาหกรรมยางล้อที่มีการใช้ยางพาราอยู่ 70%ของการใช้ยางทั้งหมดจะยังขยายตัวได้ 7-8% ด้านอุตสาหกรรรมถุงมือยาง ที่ใช้ยางพาราอยู่ 20% จะขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
สุดท้าย คือ วงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์จากยางพาราวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทขณะนี้ธนาคารออมสินและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) รับเรื่องไปหารือแล้วคาดว่าจะได้ข้อสรุปเงื่อนไขการกู้เร็วๆนี้ โดยประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่การใช้ยางพาราที่มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การประเมินนี้ยังไม่รวมที่จะเริ่มมีการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 2 (อีโคคาร์ 2) เพราะการผลิตจริงคงจะเริ่มในปี 2559 และถึงเวลานั้นความต้องการยางพารา ก็จะสูงขึ้นอีก
สำหรับอุตสาหกรรมยางล้อของไทยตอนนี้ถือว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมีกำลังการผลิตอยู่ 50 ล้านเส้น โดยในปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 3.45 พันล้าน เหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 7 ของโลก แต่ก็มีส่วนแบ่งอยู่ 3.89% ของการส่งออกยางในตลาดโลก โดยแม้ไทยจะมีจุดแข็งคือมีการผลิตน้ำยางธรรมชาติปริมาณสูง คุณภาพการผลิตเป็นที่ยอมรับมากกว่าจีนและอินโดนีเซีย แต่มีข้อเสียคือต้นทุนค่าแรงและพลังงานที่สูงกว่า
"ตอนนี้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมีนโยบาย เร่งยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก และยังช่วยเพิ่มมูลค่ายางพาราให้กับไทยด้วย"นายสมชาย กล่าว