ส่วนแรกโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปอาคารศาลากลางจังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกำลังผลิต 48 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,800 ล้านบาท ที่นำมาจากเงินกองทุนอนุรักษ์พลังานของงบประมาณปี 56 และมอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการ โดยขณะนี้คัดเลือกอาคารที่เข้าข่ายเทคนิค คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ส่วนที่ 2 อนุมัติสนับสนุนติดตั้งโซลาร์รุฟท็อปแก่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลระดับอำเภอ รวมกำลังผลิต 14 เมกะวัตต์
และ ส่วนที่ 3 อนุมัติให้ติดตั้งอาคารวิทยาลัยอาชีวะ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา รวมกำลังผลิต 9 เมกะวัตต์ โดยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเฉลี่ย 40 กิโลวัตต์/แห่ง หรือติดตั้งเป็นโซลาร์ฟาร์มได้ เพื่อให้เป็นอาชีวะอาชีพ ฝึก่วงติดตั้งโซลาร์ ทั้งนี้ในส่วนที่ 2 และ 3 ใช้งบจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานของงบประมาณปี 57
"ภาครัฐทำให้เห็น เพื่อให้ได้ผลประหยัด ให้เห็นที่ศาลากลาง อบต. อบจ. โรงพยาบาล อาชีวะ เป็นการสื่อสารว่าภาครัฐจริงจัง "นายทวารัฐ กล่าว
รองอธิบดี พพ.กล่าวว่า กรมฯยังดำเนินการตามแผนขยายโซลาร์รูฟท็อปในช่วงปี 56- 64 รวมกำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ เฉลี่ยปีละ 100 เมกะวัตต์ โดยในปี 56 ได้อนุม้ติล็อตแรกแล้ว 150 เมกะวัตต์ โดยโซลาร์รูฟท็อปตามบ้านที่อยู่อาศัย มีผู้ยื่นเสนอมาน้อย เพราะแต่ละบ้านส่วนใหญ่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องลอนคู่ทำให้การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปทำได้ยาก
ปัจจุบน พพ.ได้ขึ้นทะเบียนบริษัทผู้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป จำนวน 40 บริษัท ซึ่งเป็นข้อมูลให้ผู้สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป โดยพิจารณาจากผลงานในอดีต หรือมีช่างฝีมือสามารถดำเนินการได้