พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำกรอบแนวทางการพัฒนากฎหมาย 3 ด้านที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ไปใช้เป็นแนวทางการปฏิรูปกฎหมายในกรอบยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ประกอบด้วย กรอบที่ 1 การพัฒนากฎหมายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการประกอบธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันอันเป็นการทั่วไป มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนากฎหมายอันมีลักษณะเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นการทั่วไป
กรอบที่ 2 การพัฒนากฎหมายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจ / อุตสาหกรรมเป้าหมาน เป็นกฎหมาย / ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายจากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการพัฒนากฎหมายส่งเสริมการค้าการลงทุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรายสาขา ตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) และข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
กรอบที่ 3 การพัฒนาองคาพยพ / ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง รวมถึงส่งเสริมให้กฎหมายของประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และได้ดำเนินการผลักดันการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามกรอบดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่ ยธ. รับผิดชอบ
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาจัดช่องทางพิเศษสำหรับการพิจารณาและผลักดันร่างกฎหมายทั้งในกรอบของรัฐบาลและกรอบของรัฐสภา โดยในกรอบของรัฐบาลควรจัดช่องทางพิเศษสำหรับร่างกฎหมายที่จะได้รับการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และขอความร่วมมือให้มีการพิจารณาโดยคณะพิเศษของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้ร่างกฎหมายผ่านไปตามวัตถุประสงค์และทันตามระยะเวลาที่กำหนด และพิจารณาแนวทางร่วมมือเพื่อให้รัฐสภากำหนดเป็นวาระเร่งด่วน และจัดกลไกเฉพาะในการดูแลให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายตามแผนงานโดยเร็ว