กรณีที่ 2 หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในครึ่งปีแรกปี 57 แต่รัฐบาลใหม่ยังไม่สามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และภาคการส่งออกเติบโตในระดับ 5% จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีอยู่ที่ 3.%
กรณีที่ 3 หากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่มีความล่าช้าออกไปเกินกว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 57 ซึ่งจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณในปี 57 ของภาครัฐล่าช้าออกไป และส่งผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณปี 58 ซึ่งหากภาคการส่งออกสามารถขยายตัวได้ถึง 7% โดยที่เศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนต่างๆของภาครัฐไม่ขยายตัว อัตราการขยายตัวของจีดีพีจะอยู่ที่ 2.5% ใน
กรณีสุดท้ายเป็นกรณีเลวร้ายที่สุด หากการเมืองยังมีความขัดแย้งรุนแรงและไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ รวมถึงภาคการส่งออกขยายตัวไม่ถึง 3% จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีเหลือเพียงแค่ 0.5% เท่านั้น
ด้านนางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า จีดีพีปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 2.7% เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงมาก โดยเติบโตเพียง 0.6% การลงทุนหดตัวลง 0.9% และยังส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงปี 57 จากปัญหาการเมืองในประเทศยังยืดเยื้อ
ทั้งนี้ ปัญหาการเมืองยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยเฉพาะงบการลงทุน
ส่วนภาคการส่งออกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า คือ สหรัฐ ยุโรป จีน และอาเซียน โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโต 7% จากปีนี้เติบโตเพียง 0.5%ซึ่งอุตสาหกรรมธุรกิจส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัว คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี เคมีภัณฑ์ รถยนต์ กุ้ง น้ำตาล ยางพารา
ส่วนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคภายใต้กฎหมายพิเศษ คาดว่าจะชะลอต่อไป เพราะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีเม็ดเงินจากการดำเนินโครงการเข้าระบบในปี 57 ประมาณ 50,000 ล้านบาท มีผลต่อจีดีพี 0.5%