ขณะที่ อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 60.14%
ส่วนภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 56 หดตัวลง 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.38%
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับภาพรวมภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4/56 หดตัว 7.1% ด้านการใช้อัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 62.20% เป็นผลจากการส่งออกที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศณษฐกิจประทเศคู่ค้าสำคัญ ขณะที่การบริโภคภายในประเทศชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการในประเทศลดลง ประกอบกับฐานที่สูงในปีที่แล้ว
ทั้งนี้ สศอ.ประมาณการในปี 57 คาดว่า GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัวอยู่ในช่วง 3.0-4.0% และ MPI ขยายตัวในช่วง 1.5-2.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการทยอยปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก, การดำเนินการตามแผนการลงทุนภาครัฐ, อุตสาหกรรมรถยนต์ ปรับฐานสู่ภาวะปกติ
ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังมีข้อจำกัด โดยราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร, ภาครัฐเบิกจ่ายเงินต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนล่าช้าออกไป, ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่ม Efficiency-driven หมายถึงกลุ่มที่สร้างเศรษฐกิจจากแรงงานราคาถูก ส่งเสริมให้ต่างชาติลงทุนด้านอุตสาหกรรมเพื่อใช้แรงงานของตนเอง การผลิตสินค้ายังไม่ตอบสนองความต้องการตลาดโลก และ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว