ขณะที่ อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 60.14%
ส่วนภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 56 หดตัวลง 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.38%
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับภาพรวมภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4/56 หดตัว 7.1% ด้านการใช้อัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 62.20% เป็นผลจากการส่งออกที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศณษฐกิจประทเศคู่ค้าสำคัญ ขณะที่การบริโภคภายในประเทศชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการในประเทศลดลง ประกอบกับฐานที่สูงในปีที่แล้ว
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการ สศอ. ยังได้คาดการณ์ GDP ภาคอุตสาหกรรมในปี 57 ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3-4% โดยตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมปัจจัยเสี่ยงด้านการเมือง ซึ่งหากการเมืองยังคงยืดเยื้อต่อเนื่องไปอีก 3-4 เดือนข้างหน้า จะทำให้ GDP ขยายตัวลดลง 0.4% และทั้งปีจะขยายตัวลดลง 1.1% ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) จะขยายตัวในช่วง 1.5-2.5% ซึ่งหาก GDP ชะลอลงอาจทำให้ MPI ลดลงตามที่ 0.5-1%
ทั้งนี้ การคาดการณ์ที่ส่งผลในด้านบวกและด้านลบ มาจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศไทย(IMF)ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี จากปี 56 อยู่ที่ 3.3% เพิ่มขึ้นเป็น 3.6%, การลงทุนของภาครัฐ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท หากมีการลงทุนได้จริงตามแผนการดำเนินงานของรัฐบาล จะส่งผลให้เกิดการลงทุนในระยะยาวของภาคเอกชน
แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้จริงตามแผน จะส่งผลกระทบต่อภาคเอกชนในสาขา อุตสาหกรรมซีเมนต์, สุขภัณฑ์, เซรามิก และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด รวมถึงอุตสาหกรรมภาคการขนส่งประกอบกับจะส่งผลให้ภาคการบริโภคเกิดการชะลอตัวลงอีกด้วย, ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ เนื่องจากปี 56 มีการขยายตัวค่อนข้างสูงจากนโยบายรถคันแรก ซึ่งในปี 57 จะกลับมาสู่ภาวะปกติ แต่ยังกระทบต่อผลผลิตรถยนต์ที่อาจจะขยายตัวไม่มากเมื่อเทียบกับปี 56 โดยมองว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 1%
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องกังวลในเรื่องการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจมีการจำกัดวงเงินในเรื่องของการนำเงินในอนาคตมาใช้ และการปรับขึ้นราคาสินค้าเกษตร เช่น ปาล์ม, น้ำมัน, น้ำตาล, ยางพารา และข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับล่างที่ยังจะไม่เข้ามากระตุ้นการใช้จ่ายการบริโภคเท่าที่ควร, ส่วนภาครัฐ หากเกิดผลกระทบจาก พ.ร.บ.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.บ.ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท จะกระทบต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุนของภาครัฐพอสมควร
ด้านแรงงานในประเทศยังอยู่ระหว่างการปรับตัว ซึ่งมีการขยายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการไปยังต่างประเทศค่อนข้างมากและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) จะยังรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่ต่ำ แม้จะมีแรงกดดันจากดอกเบี้ยต่างประเทศและเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ที่มีผลมาจากการเมืองในประเทศและการฟื้นตัวของประเทศสหรัฐฯ
"ผลกระทบจากการเมือง มองว่ามีผลกระทบต่อภาคการผลิตในระยะสั้น ในส่วนของอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงตลาดในประเทศ พวกอุตสาหกรรมขนาดย่อม SMEs โดยจะส่งผลกระทบต่อ GDP ภาคอุตสาหกรรมในระยะสั้นให้ขยายตัวลดลงเหลือ 0.4% และทั้งปี 1.1% โดยมองว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะเป็นในอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการส่งออกจากต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล ผลิตภัณฑ์นม และสินค้าแปรรูปทางการเกษตร" ผู้อำนวยการ สศอ.ระบุ