(เพิ่มเติม1) สภาพัฒน์ ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 57 เหลือโต 3-4% ส่วน Q4/56 โตแค่ 0.6%

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 17, 2014 10:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไตรมาส 4/56 ขยายตัวเพียง 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและทั้งปี 56 ขยายตัวแค่ 2.9% พร้อมทั้งปรับคาดการณ์ GDP ปี 57 ลงเหลือขยายตัว 34% จากเดิมที่เคยคาดว่าจะเติบโตได้ถึง 4-5% เนื่องจากคาดว่าในปีนี้ข้อจำกัดของอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอ่อนตัว ตามความล่าช้าของการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ และการบริโภคภายในประเทศที่ยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง
"เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0-4.0 ดีขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 2.9 ในปี 2556 โดยมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในปี 2556" เอกสารเผยแพร่ ระบุ

ทั้งนี้ สมมติฐานการประมาณการในครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในปี 2556 (2) ราคาน้ำมันดิบดูไบจากเฉลี่ยร้อยละ 102.5-107.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับลดจาก 105-110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในการประมาณการครั้งที่แล้ว และ (3) ค่าเงินบาทเฉลี่ย 32.0-33.0 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่ำลงจากเดิมซึ่งคาดว่าจะเฉลี่ย 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์

โดยในปีนี้ การท่องเที่ยวที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.0 ต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนและอัตรสการขยายตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ในส่วนที่ได้มีการผูกพันไว้แล้ว รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่ขอรับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไว้แล้ว และสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการอนุมัติในช่วงครึ่งหลังของปีได้ โดยคาดว่าการปรับปรุงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจะมีความชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

"โดยรวมจึงคาดว่าข้อจำกัดของอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอ่อนตัว จะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่ำร้อยละ 4.0 - 5.0 ที่เคยประมาณการไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 เนื่องจากความล่าช้าของการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ และการบริโภคภายในประเทศที่ยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง" เอกสารเผยแพร่ระบุ

สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9-2.9 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวไม่มาก ประกอบกับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นไม่มาก อัตราการว่างงานจะยังต่ำไม่เกินร้อยละ 1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลร้อยละ 0.2 ของ GDP ลดลงจากการขาดดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP ในปี 2556

ทั้งนี้ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2557 มาจากในด้านต่างๆ 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1.การส่งออกมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนและจะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5.0-7.0 เป็นฐานรายได้และปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2557 ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งเริ่มชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปี 2556 เริ่มส่งผลดีต่อการส่งออก

2.จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2557 คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 27.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่ำกว่ำสมมติฐาน 28.0 ล้านคนที่เป็นเป้าหมายของทำงาน และเป็นสมมติฐานในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบจากการประกาศของประเทศต่างๆ แจ้งเตือนนักท่องเที่ยวของตนที่จะ เดินทำงเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.06

3.การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.0 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 0.3 โดยคาดว่าอัตาราการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2557จะเท่ากับร้อยละ 92 สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 90.5 ในปีงบประมาณ 2556 เนื่องจากอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณโดยรวมในปี 2556 ยังต่ำกว่ำเป้าหมาย แม้จะมีการดำเนินมาตรการเพื่อการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่าย จึงส่งผลให้มีเม็ดเงินงบประมาณผูกพันเหลื่อมปีมาเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2557

อย่างไรก็ดี ในการประมาณการครั้งนี้ สศช.ปรับประมาณการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2557 ลงจากที่คาดไว้เดิมร้อยละ 95 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้จ่ายภายใต้แผนการลงทุนภาครัฐจะล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้เดิม ทั้งแผนการลงทุนภายใต้ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... และโครงการลงทุนภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555

รวมทั้งการจัดตั้งรัฐบาลที่มีแนวโน้มล่าช้าออกไป จะส่งผลกระทบให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 มีความล่าช้า ซึ่งจะทำให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้เพียงบางส่วนเท่านั้นในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558

4.การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้าตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ และการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่อาจจะมีความล่าช้าออกไป นอกจากนั้นนักลงทุนรายใหม่ยังมีแนวโน้มที่จะรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ และแนวทางการดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญๆ ของภาครัฐ โดยคาดว่าการลงทุนของภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่ำกว่าที่ประมาณการเดิมร้อยละ 5.8

5.การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 1.4 ฟื้นตัวดีขึ้นกว่าการขยายตัวร้อยละ 0.2 ในปี 2556 ต่ำกว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว รวมทั้งยังมีผลจากฐานปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ที่สูงมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ซึ่งจะทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสแรกและสองของปี 2557 จะยังคงลดลงประมาณร้อยละ 38-48 และร้อยละ 20-30 ตำมลำดับ

สำหรับการบริหารเศรษฐกิจในปี 2557 เห็นว่า 1.การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ สนับสนุนการปรับตัวของภาคการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค โดยการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่งผ่านชายแดน และการส่งเสริมผู้ประกอบการไปเจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

2. การกำกับดูแลแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดูแลด้านการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ให้เป็นไปตามเป้าหมายการเตรียมความพร้อมของแผนงานและโครงการที่จะต้องได้รับการพิจารณาเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ให้สามารถเร่งรัดดำเนินการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี การกำหนดแนวทางการดำเนินการโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานภายใต้เงื่อนไขต่างๆ การปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการพิจารณาคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่รออยู่

3. การดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้มีความผันผวนจนเกินไป รวมทั้งการดูแลสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจ และการเข้าถึงเงินทุนของภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การสร้างอาชีพเสริมช่วงภาวะน้ำแล้ง และการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เป็นต้น

*GDP ปี 56 โต 2.9% อุปสงค์ในประเทศชะลอ-ความเชื่อมั่นลด

อย่างไรก็ดี สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมทั้งปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอตัวค่อนข้างมากจากที่ขยายตัว ร้อยละ 6.5 ในปี 2555 เนื่องจากฐานการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนเอกชนในช่วงครึ่งหลังปี 2555 สูงกว่าแนวโน้มปกติ โดยที่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกที่ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งสูงถึง 211,474 คันในไตรมาสสี่ปี 2555 จึงส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศรวมชะลอตัวลงมาก ประกอบกับในช่วงปลายปีความเชื่อมั่นของประชาชนลดลง การใช้จ่ายของครัวเรือนโดยรวมทั้งปีจึงขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 2.8 และการใช้จ่ายรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐก็ชะลอตัวลง

2.ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการยังชะลอตัวเนื่องจารเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในช่วงแรกของการฟื้นตัว รวมทั้งสินค้าส่งออกเกษตรประสบปัญหาโรคตายด่วนในกุ้ง และสินค้าอุตสำหกรรมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถปรับตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตหน่วยความจำของฮาร์ดดิสก์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยรวมทั้งปี 2556 มูลค่าการส่งออกสินค้าเท่ากับ 225,397 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.2

การใช้จ่ายและการส่งออกที่ชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตในทุกสาขาชะลอลง ทั้งปี 2556 ภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.4 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.1 ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.2 และสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 12.1 โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งสิ้น 26.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพที่มั่นคง โดยที่อัตราการว่างงานทั้งปีเท่ากับร้อยละ 0.7 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.6 ต่อ GDP


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ