ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนก.พ. 57 ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค.57 ดัชนีราคาบ้านเดือนธ.ค.56 รวมถึงข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 4/2556 (ครั้งที่ 2) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจจับตาสัญญาณความเปราะบางของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ประกอบด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(17-21 ก.พ.) เงินบาทแข็งค่าช่วงต้นสัปดาห์ก่อนทยอยอ่อนค่าในช่วงต่อมา โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางเทคนิค หลังสามารถทะลุผ่านระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงต้นสัปดาห์
อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา โดยถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของไทย การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความต่อเนื่องของการเดินหน้าลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ (มาตรการ QE) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ล่าสุดเมื่อวานนี้(21 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.55 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับระดับ 32.58 บาท/ดอลลาร์ ในวันพฤหัสบดีก่อนหน้า(13 ก.พ.)