นอกจากนี้ จะขยายสาขาในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มครบทุกเขต เพื่อรองรับการให้บริการกับประชาชนทั่วไปรวมถึงบุตรหลานเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาต่อยอดให้สถาบันการเงินชุมชนที่ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุน สามารถทำหน้าที่เป็นเครือข่าย ธ.ก.ส. (Banking Agent)เพิ่มขึ้นเป็น 1,200 แห่งในปีนี้
"ปี 2557 ตั้งเป้าสินเชื่อโตร้อยละ 10 พร้อมขยายฐานการบริการสู่สถาบันการเงินชุมชนทั่วประเทศ 1,200 แห่ง" นายลักษณ์ กล่าว
ส่วนผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2556 ของ ธ.ก.ส. (1 เม.ย.56 – 31 มี.ค.57) ธ.ก.ส.ได้จ่ายสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากต้นปีบัญชีจำนวน 144,142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.55 ทำให้มียอดสินเชื่อที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทแล้วทั้งสิ้น 1,208,128 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการรับจำนำผลิตผลของรัฐบาล ซึ่งอยู่นอกงบการเงินอีกจำนวน 431,133 ล้านบาทจะทำให้ยอดการดำเนินงานด้านสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 1,639,261 ล้านบาท โดยกระจายผ่านเครือข่ายสาขาที่ให้บริการจำนวน 1,180 สาขา หน่วยอำเภอ 1,051 หน่วย และการให้บริการผ่านตู้ ATM ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศอีก 1,507 ตู้ โดยมีเกษตรกรที่ได้รับบริการรวม 7.24 ล้านครัวเรือน มียอดเงินฝากรวม 1,152,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปี 151,054 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.09 ซึ่งส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่รับฝากจากประชาชนรายย่อย เช่น ออมทรัพย์พิเศษ ออมทรัพย์ทวีโชค
ผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ ธ.ก.ส. มีสินทรัพย์รวม 1,343,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.38 หนี้สินรวม 1,236,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.58 และส่วนของผู้ถือหุ้น 106,879 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.16 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 72,408 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 62,653 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 9,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.35 โดยแยกเป็นกำไรจากผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อ 4,833 ล้านบาท รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ 2,334 ล้านบาท และรายได้จากการบริหารจัดการโครงการนโยบายรัฐ 2,588 ล้านบาท ขณะที่ NPLs อยู่ที่ร้อยละ 4.10 เทียบกับปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.95 ด้านความสามารถในการทำกำไร ธ.ก.ส. บริหารสินทรัพย์ได้ผลตอบแทน(ROA) อัตราร้อยละ 0.78 ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.83 โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 12.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และกฎกระทรวงว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของ ธ.ก.ส. ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.50
สำหรับผลการดำเนินงานโครงการสำคัญ เช่น โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส ได้ดำเนินการออกบัตรให้เกษตรกรจำนวน 4,081,201 ราย โดยมีการใช้จ่ายผ่านบัตรแล้ว จำนวนเงิน 31,815 ล้านบาท มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการ 12,023 ร้านค้า ทั้งนี้ได้มีการสนับสนุนให้ร้านค้าเข้าร่วมโครงการ Q-Shop ของกรมวิชาการเกษตร เพื่อกำหนดคุณภาพสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ โดยมีร้านค้าที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรอง Q-Shop แล้ว 534 ร้านค้า
โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า 500,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี แบ่งเป็น โครงการพักชำระหนี้ปี 2554 (หนี้ค้างชำระ) มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 335,144 ราย จำนวนเงิน 38,729 ล้านบาท และได้รับการอบรมหลักสูตรพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจำนวน 362,694 ราย และมีการออมเงินตามข้อตกลงของโครงการแล้ว 306,009 ราย จำนวนเงินออม 2,118 ล้านบาท โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ปี 2555 (หนี้ปกติ)มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 1,522,954 ราย จำนวนเงิน 159,493 ล้านบาท แบ่งเป็นการพักเงินต้น จำนวน 1,425,921 ราย จำนวนเงิน 151,876 ล้านบาท และไม่ประสงค์พักเงินต้น จำนวน 97,003 จำนวนเงิน 7,617 ล้านบาท