ทั้งนี้ พบว่า ผลผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของการเพาะปลูกอ้อยมีค่าเฉลี่ยความหวานสูงที่สุดหรือเฉลี่ยอยู่ที่ 13.07 C.C.S. เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีค่าเฉลี่ยความหวาน 12.57 C.C.S. รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกที่มีค่าเฉลี่ยความหวาน 12.58 C.C.S. ขณะที่ปีก่อนมีค่าความหวานเพียง 10.94 C.C.S. เท่านั้น ซึ่งจากคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้นในครั้งนี้ ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ จะมีรายได้จากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นอีก 54 บาทต่อทุก 1 C.C.S. ต่อตันอ้อยที่ปรับขึ้น จากค่าอ้อยขั้นต้น 900 บาทต่อตัน ที่กำหนดค่าความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 10 C.C.S.
"แม้คุณภาพผลผลิตอ้อยเข้าหีบในปีนี้จะดีมาก ทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยในฤดูการนี้ดีขึ้น แต่ TSMC หรือ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมีความกังวลต่อคุณภาพอ้อยในฤดูการผลิตปี 2557/2558 ที่จะเริ่มจัดเก็บผลผลิตในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด หากไม่มีฝนตกลงมาช่วยในช่วงนี้จะทำให้มีผลต่อการเพาะปลูกอ้อยไม่ได้คุณภาพที่ดีได้" นายสิริวุทธิ์ กล่าว
ส่วนการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า ทาง TSMC หรือ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายจะเร่งสร้างความเข้าใจและผลกระทบให้แก่ชาวไร่อ้อย จึงได้จัดประชุมเรื่อง การเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC โดยเชิญผู้แทนจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเพื่อให้ชาวไร่อ้อยเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเปิดตลาดเสรีสินค้าน้ำตาลในต้นปี 2559 ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยมีความแข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืนต่อไป