"แรงกระตุ้นจากภาครัฐ ประกอบกับเงินลงทุนภาคเอกชนชะลอต่อเนื่อง เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นและรอดูสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ ต้องปรับลด GDP ลง จากเดิมคาดว่าโต 2.7% แม้จะมีปัจจัยบวกจากการส่งออกที่ขยายตัว 4.5% จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่ยังไม่สามารถชดเชยการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ขาดหายไปได้" นางรุ่ง กล่าว
นอกจากนี้ ธปท.ยังกังวลว่าหากการเมืองคลี่คลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจจะไม่ฟื้นตัวเร็วทันทีเหมือนในอดีต เนื่องจากประชาชนมีหนี้ครัวเรือนสูงกดดัน เป็นข้อจำกัดให้ระมัดระวังการใช้จ่าย ขณะที่นักลงทุนต่างชาติที่เป็นรายเดิมยังมีความมั่นใจในการลงทุนในไทย แต่นักลงทุนรายใหม่ยังชะลอการลงทุนเพื่อรอดูการเมืองในประเทศเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส ที่ยังเรตติ้งประเทศไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ แต่ยังติดตามการเมืองในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังดี แม้ว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะปรับขึ้นบ้าง แต่เป็นเพียงภาวะชั่วคราว มาจากการปรับขึ้นของราคาก๊าซหุงต้ม ที่ส่งผ่านให้ราคาอาหารปรับขึ้น แต่สินค้าอื่นต้นทุนไม่ได้เร่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามที่คาดไว้ โดยมั่นใจเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ยังอยู่ในกรอบที่ 2.5%
ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือนเม.ย. พบว่า มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่า ยังไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่วนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ยังเป็นการไหลออกสุทธิเล็กน้อย แต่ยังไม่น่าห่วง