ธปท.คาดภาวะธุรกิจ Q2/57 ยังไม่ฟื้น แต่ นลท.ไม่หนีเชื่อไทยมีเสถียรภาพ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 9, 2014 10:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยแพร่รายงานแนวโน้มภาคธุรกิจ โดยคาดว่าไตรมาส 2/57 ภาวะธุรกิจจะยังไม่ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ ผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าภาวะธุรกิจมีแนวโน้มทรงตัวจากปัจจุบัน ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยรวมยังไม่ฟื้นตัว สถานการณ์ทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อไป สำหรับการลงทุนภาคเอกชน สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่จะลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 สะท้อนมุมมองต่อการลงทุนภาคเอกชนที่โน้มลดลง

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันยังไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจย้ายฐานการผลิตหรือหันไปลงทุนในประเทศอื่น เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยมีเสถียรภาพและมีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อีกทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและมีทำเลที่ตั้งเหมาะสาหรับการเป็นฐานการผลิตหลังจากเข้าสู่ AEC ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการคาดว่าการส่งออกสินค้าจะปรับดีขึ้นเป็นลำดับตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และจะสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจในระยะต่อไป เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มผ่อนคลายลง

สำหรับภาวะธุรกิจในไตรมาส 1/57 หดตัวจากการหดตัวของอุปสงค์ในประเทศ ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและยอดจองที่อยู่อาศัยหดตัวจากกาลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงตามภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และความล่าช้า ในการจ่ายเงินของโครงการจานาข้าว รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในไตรมาสนี้ถูกบั่นทอนเพิ่มเติมจากสถานการณ์ทางการเมือง ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนหดตัว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนใหม่เพื่อรอประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมือง ประกอบกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ยังถูกเลื่อนออกไปจากความล่าช้าในการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ชุดใหม่

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูป และพลาสติก ยังคงลงทุนต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การส่งออกสินค้าฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเครื่องใช้ไฟฟู ขณะที่เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองไม่ได้กระทบต่อธุรกิจส่งออกอย่างมีนัยสาคัญเนื่องจากยังสามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ตามปกติ อย่างไรก็ดี ธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวแต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าผลกระทบยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองและอุทกภัยในอดีต

ทั้งนี้ ในรายงานแนวโน้มธุรกิจประจำเดือนเม.ย.57 ระบุว่า การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1/57 หดตัวในทุกภูมิภาค จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการค้าปลีกพบว่า ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคในทุกภูมิภาคหดตัวตามกาลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลงจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและรายได้เกษตรกรที่ลดลง ส่วนหนึ่งจากความล่าช้าของการจ่ายเงินในโครงการรับจานาข้าว

ขณะเดียวกันปัญหาการเมืองในประเทศที่ยืดเยื้อกระทบต่อความเชื่อมั่นในการบริโภค ส่งผลให้ครัวเรือนส่วนใหญ่เพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย ครัวเรือนบางส่วนจึงหันไปซื้อสินค้าในกลุ่ม House Brand ของธุรกิจ Modern Trade มากขึ้นเนื่องจากมีราคาถูกกว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงต้องทาการตลาดที่เข้มข้นมากขึ้น ภายหลังสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองผ่อนคลายลง โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารที่ตั้งในบริเวณใกล้กับพื้นที่ชุมนุมทางการเมือง เพราะได้รับผลกระทบมากในช่วงสองเดือนแรกของไตรมาส นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังหันมาเน้นขยายตลาดในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อชดเชยยอดขายในเขตเมืองและพื้นที่การชุมนุมที่ลดลง

ส่วนในไตรมาส 2/57 การบริโภคภาคเอกชนจะยังไม่ฟื้นตัวสู่ระดับปกติ ผู้ประกอบการประเมินว่าเทศกาลสงกรานต์และการจัดงานมอเตอร์โชว์ในช่วงเดือนเมษายนจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนขึ้นบ้าง แต่ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยรวมน่าจะลดลงต่อเนื่อง โดยสถานการณ์ทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยหลักที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อไป

การลงทุนภาคเอกชนนั้น ในไตรมาส 1/57 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง ธุรกิจส่วนใหญ่ชะลอแผนการลงทุนใหม่เพื่อรอประเมินความชัดเจนของแนวโน้มเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของหลายธุรกิจยังถูกเลื่อนออกไปจากความล่าช้าในการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ชุดใหม่ อย่างไรก็ดี หลายธุรกิจโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูป และพลาสติก ยังคงลงทุนตามแผนเดิมแต่เม็ดเงินลงทุนไม่สูงนักเพราะเป็นเพียงการลงทุนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต ขณะเดียวกันธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจโรงแรมหลายแห่งโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดและแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญยังคงลงทุนขยายสาขาและปรับปรุงห้องพักต่อเนื่องเพื่อรองรับกำลังซื้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

ในไตรมาสที่ 2/57 การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง สะท้อนจากผลสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อที่พบว่า ความต้องการสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่น่าจะยังลดลงจากปัจจุบันต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 แม้ว่าความต้องการสินเชื่อของ SMEs จะเพิ่มขึ้นแต่มีแนวโน้มชะลอลงจากต้นปี อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นความต้องการสินเชื่อระยะสั้น สะท้อนมุมมองต่อแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลง สอดคล้องกับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่พบว่า ธุรกิจส่วนใหญ่จะยังชะลอแผนการลงทุนใหม่เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะรอความชัดเจนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ แต่เชื่อมั่นว่าหากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ชุดใหม่เร่งอนุมัติโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่คั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จได้เร็ว จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้มากขึ้น

ด้านการส่งออกนั้น ในไตรมาส 1/57 การส่งออกสินค้าฟื้นตัวชัดเจนขึ้นตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการส่งออกในหลายอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นและไม่ได้รับผลกระทบทางลบ ในด้านการผลิตและการส่งมอบสินค้าจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับดีขึ้นตามความต้องการในตลาดโลกที่ค่อยๆ ฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกอาหารแปรรูปของผู้ประกอบการบางรายเริ่มฟื้นตัวได้บ้างหลังมีการนำเข้าวัตถุดิบกุ้งจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยวัตถุดิบกุ้งในประเทศที่ลดลงมากจากปัญหาโรคระบาด ส่วนการส่งออกเครื่องหนังปรับดีขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการเน้นคุณภาพและการออกแบบสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้สินค้าเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การส่งออกยางพาราหดตัวแต่เป็นผลจากราคาที่ลดลงมากเป็นสาคัญ เนื่องจากความต้องการจากจีนไม่มากพอเพราะมีสินค้าคงคลัง ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ขณะเดียวกันอุปทานยางพาราในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ส่วนไตรมาส 2/57 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าคาสั่งซื้อจากต่างประเทศโดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 จะปรับดีขึ้นเล็กน้อย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกค่อยๆ ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการบุกเบิกตลาดใหม่ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และอเมริกาใต้ เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก การขยายตลาดในอาเซียนและอาเซียน+3 มากขึ้นจากเดิมที่เน้นส่งออกไปกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ธุรกิจท่องเที่ยวในไตรมาส 1/57 หดตัว ผู้ประกอบการเห็นว่าการชุมนุมปิดพื้นที่หลายจุดในเขตกรุงเทพมหานคร และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก สะท้อนจากจานวนนักท่องเที่ยวและอัตราการเข้าพักที่ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะในสถานประกอบการบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การชุมนุม นอกจากนี้ผู้ประกอบการหลายรายถูกยกเลิกการจัดอบรมและสัมมนาทั้งจากภาครัฐและเอกชน เนื่องจากผู้จัดมีความกังวลต่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงาน ผู้ประกอบการจึงปรับตัว ด้วยการหันมาเจาะตลาดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม อาทิ กลุ่มคู่รัก กลุ่มฮันนีมูน และแต่งงาน อีกทั้งยังหาตลาดใหม่ ที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น อาทิ ตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการประเมินว่าปัญหาการชุมนุม ทางการเมืองในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรุนแรงเท่าเหตุการณ์ทางการเมืองและอุทกภัยในอดีต

ไตรมาส 2/57 ธุรกิจท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้น หลังการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินและการลดพื้นที่ การชุมนุมในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบกับเทศกาลสงกรานต์และวันหยุดยาวในช่วงวันแรงงานเป็นปัจจัยบวกต่อ ภาคการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางด้วยตนเองและนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทาง เป็นคณะจะกลับเข้ามาในประเทศไทยหลังจากสถานการณ์การเมืองเริ่มผ่อนคลายลง อย่างไรก็ดี คาดว่านักท่องเที่ยวชาวไทยจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีแนวโน้มลดลง

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในไตรมาส 1/57 ตลาดอสังหาริมทรัพย์หดตัวต่อเนื่อง ความต้องการที่อยู่อาศัยโดยรวมหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สะท้อนจากยอดจองที่ลดลงมากเนื่องจากกาลังซื้อของผู้บริโภคลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงปรับตัวด้วยการชะลอการเปิดโครงการใหม่เพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่ลดลง และหันมาเร่งระบายอุปทานคงค้างที่มีอยู่ในระดับสูงแทน ส่งผลให้อุปทานส่วนเกินจากช่วงที่ผ่านมาค่อยๆ ลดลง

ไตรมาส 2/57 ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มปรับดีขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าความต้องการที่อยู่อาศัยจะปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัว รวมถึงสถานการณ์การเมืองที่เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับการทากิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อระบายอุปทานคงค้างน่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคกลับมาตัดสินใจซื้อใหม่ สอดคล้องกับมุมมองของสถาบันการเงินที่คาดว่าความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในไตรมาสที่ 2 จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ขณะที่การจ้างงานนั้น ในไตรมาส 1/57 ความต้องการจ้างงานของธุรกิจทรงตัว ผู้ประกอบการโดยรวมเห็นว่าแม้กิจกรรม ทางเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ความต้องการจ้างงานยังทรงตัวและไม่ส่งผลให้มีการเลิกจ้าง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ ประกอบกับต้นทุนการจัดหาและฝึกอบรมแรงงานยังคงปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้การจ้างงานมีแนวโน้มทรงตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการรักษาแรงงานไว้สาหรับรองรับคาสั่งซื้อและการลงทุนในอนาคตที่จะเกิดขึ้นหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศคลี่คลายลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าแนวโน้มค่าแรงจะไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า

ในไตรมาส 1/57 ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นต่อเนื่อง ต้นทุนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นจากราคาที่ดินและราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสาคัญ ขณะที่ต้นทุนของภาคการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมพลาสติก อาหาร พลังงาน และเครื่องนุ่งห่ม สูงขึ้นตามราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบนาเข้าที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากการอ่อนค่าของเงินบาท แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับราคาขายขึ้นได้ยากเนื่องจากการแข่งขันสูง ประกอบกับกาลังซื้อในประเทศชะลอตัว จึงปรับตัวด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนทุกประเภทลง

ขณะที่ต้นทุนมีแนวโน้มสูงขึ้นในไตรมาส 2/57 ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้นอีก ตามต้นทุนแรงงานมีฝีมือเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการในภาคการผลิตคาดว่าต้นทุนจะยังคงเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มราคาพลังงาน ขณะที่การส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มไปยังผู้บริโภคน่าจะทาได้มากขึ้นหากเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้เร็ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ