"เศรษฐกิจไทยในปี 57 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำจากการที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกติดลบและการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และมีแนวโน้มที่การจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม จึงส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของรายจ่ายภาครัฐและการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจที่สาคัญๆ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายและการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558
นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนในขณะที่การฟื้นตัวของการส่งออกที่มีแนวโน้มช้ากว่าที่คาดไว้เดิม ตามแนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น แรงส่งจากภาคการส่งออกจึงมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประมาณการไว้"สภาพัฒน์ ระบุ
สภาพัฒน์ ชี้แจงเหตุผลหลักในการปรับประมาณการในครั้งนี้ 3 ประการ คือ (1) ปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้เดิม เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้าออกไปจากที่คาดการณ์ไว้เดิมและเป็นข้อจำกัดมากขึ้นต่อการดำเนินมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณ และการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจทาให้ระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุน ประกอบกับมีผลกระทบมาจากการที่ฐานรายได้และเศรษฐกิจโดยภาพรวมชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง
(2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประมาณการไว้ จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกของไทยฟื้นตัวช้าและราคาส่งออกลดลง และ (3) จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกของปี 57 ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังคงมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวในปี 57 มีจำนวน 27.0 ล้านคน ลดลงจากสมมติฐาน 27.5 ล้านคนในการประมาณการครั้งก่อน
อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำในช่วง 1.9-2.9% ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 0.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากการขาดดุล 0.6% ในปี 56
รายละเอียดของการประมาณการปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 57 ในด้านต่างๆ มีดังนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้า คาดว่าจะขยายตัว 3.7% ปรับลดจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 5.0-7.0% โดยปรับลดทั้งปริมาณการส่งออกเป็นเพิ่มขึ้น 4.2% จากที่คาดไว้เดิม 4.0-6.0% และราคาสินค้าส่งออกทั้งปีมีแนวโน้มลดลง 1.0-0.0% ต่ำกว่าสมมติฐานการเพิ่มขึ้น 1.9-2.9% ในการประมาณการครั้งก่อน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า เมื่อรวมกับการปรับลดสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 3.6% ต่ากว่า 6.0% ในการประมาณการครั้งก่อน
การใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัว 1.8% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัว 5.0% ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัว 2.0% และ 0.3% ในการประมาณการครั้งก่อน ตามลำดับ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าคาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายภาครัฐและการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม
การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะหดตัว 0.2% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการขยายตัว 3.8% ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์ความยืดเยื้อทางการเมืองและผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการส่งออก ซึ่งทาให้อัตราการใช้กำลังการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือนคาดว่าจะขยายตัว 0.8% ปรับลดจากการขยายตัว 1.4% ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการบริโภคสินค้าคงทนยังมีแนวโน้มลดลงจากฐานที่สูงมากอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ และการชะลอตัวของฐานรายได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สถาบันการเงินยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
สภาพัฒน์ ระบุว่า การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 57 ควรให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นและการกระตุ้นตลาดให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน และเตรียมความพร้อมของกระบวนการงบประมาณประจำปี 2558
นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูบรรยากาศทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการดาเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออานวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ พร้อมทั้งการเตรียมมาตรการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ