"ตัวเลขปีนี้จะค่อนข้างต่ำ แต่ก็ไม่ได้กระทบต่อเสถียรภาพ เมื่อดูจากตัวเลขของเราทั้ง อัตราแลกเปลี่ยน ตัวเลขเงินเฟ้อ อันดับเครดิตและฐานะของธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องเป็นห่วงก็คือ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะสายป่านสั้น ธุรกิจก็จะได้รับผลกระทบ ขยายกิจการได้น้อย และครัวเรือน ที่รายได้ต่ำ ก่อหนี้ไว้มาก ซึ่งเราก็จะต้องติดตาม ดังนั้นหากพื้นฐานของเราดี เรื่องของความเชื่อมั่นกลับมาดีขึ้น เศรษฐกิจก็จะค่อนข้างดีขึ้น" นายประสาร กล่าว
สำหรับสถานการณ์การเมืองจากนี้ ต้องติดตามเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ความสามารถของรัฐบาลใหม่ที่จะเริ่มดึงความเชื่อมั่นกลับมา และถ้าความเชื่อมั่นกลับมา เศรษฐกิจไทยก็จะกลับมาได้
ส่วนกรณีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในสายตาของนักลงทุนต่างชาติที่มักจะต่างกันนั้น ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวอยู่ที่ว่าผู้ที่มีอำนาจดำเนินการในตอนนี้ จะชี้แจงว่ามีเหตุผลอะไร สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร และมีแนวทางจากนี้แบบไหน
"จริงๆแล้ว ต้องบอกว่าท่านอดทนมาได้ตั้ง 6 เดือนแล้ว และก็ไม่อยากจะให้เป็นแบบนี้ หลังจากนี้ก็ต้องมาดูว่าประเทศจะกลับมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ซึ่งก็อยู่ที่สภาพความเป็นจริง เงื่อนไขเวลา และ ครั้งนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกในประเทศไทย เพียงแต่เราต้องตอบชาวโลกให้ได้ หากไปว่าทำเพราะอยากได้อำนาจแบบนี้ก็เสร็จแน่ๆ แต่ถ้าชี้แจงว่า เมื่อทุกฝ่ายตกลงกันไม่ได้ และมีความจำเป็นต้องทำ ก็ไม่มีอะไรเสีย" ผู้ว่า ธปท. กล่าว
ส่วนการแซงซั่น หรือมาตรการกีดกันทางการค้าจากต่างชาติ จากการทำรัฐประหารนั้น เชื่อว่าอยู่ที่การชี้แจง และรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาด้วย เพราะครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในประเทศไทย บางครั้งก็ต้องใช้เวลาอาจจะ 5-6 เดือน หรือ 3 เดือน