นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ กบข.กล่าวว่า ผลตอบแทนสะสมส่วนของสมาชิกหลังหักค่าใช้จ่ายตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเฉลี่ยปีละ 6.89% สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจาธนาคารและอัตราเงินเฟ้อในระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.19 และร้อยละ 2.92 ตามลำดับ
ส่วนในปี 57 กบข.ได้มีการทบทวนแผนจัดสรรการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) ให้สอดรับกับภาวะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันไปในเชิงรุกมากขึ้น โดยกลยุทธ์ใหม่จะเน้นการลงทุนในตลาดเกิดใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ลดการกระจุกตัวของตราสารหนี้ในประเทศ และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนทางเลือกในต่างประเทศ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนกองทุนให้ดีขึ้นในระยะยาวโดยคานึงถึงความเพียงพอของเงินออมของสมาชิกหลังเกษียณ
ด้านนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ กบข.เปิดเผยในงานประชุมผู้แทนสมาชิกวันนี้ว่า นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน กบข. มีการเติบโตในทุกด้าน เงินกองทุนเมื่อปี 40 มีจำนวน 69,946 ล้านบาท ณ สิ้นปี 56 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิ อยู่ทื่ 632,535 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55,375 ล้านบาท หรือ 9.59% จากปี 55 จากเงินรับสมาชิก 32,949 ล้านบาท และผลประโยชน์สุทธิในปี 56 อยู่ที่ 22,647 ล้านบาท เงินลงทุนของ กบข. ลงทุนอยู่ในตลาดการเงินและการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สมาชิกที่เกษียณอายุราชการ นอกจากจะได้รับเงินบานาญจากรัฐบาลเป็นประจำทุกเดือนแล้ว ยังได้เงินก้อนจาก กบข. อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปีที่ผ่านมาสมาชิกที่เกษียณได้เงินจาก กบข. เฉลี่ยรายละประมาณ 700,000 บาท นับได้ว่าการจัดตั้งเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐกำหนด
นายรังสรรค์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเด็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 นั้น ขณะนี้ กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวสะดุดหยุดลง เนื่องจากการยุบสภาเมื่อเดือน ธ.ค.56 จึงต้องเป็นเรื่องของรัฐบาลชุดใหม่และรัฐสภาที่จะพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ในเรื่องดังกล่าวต่อไป