ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีจำนวนโรงงานรวมกันกว่า 14,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปประเภทอาหารทะเลสดและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากจังหวัดดังกล่าว มีความได้เปรียบด้านยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงมากนัก รวมทั้งในภาคตะวันออกยังมีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ อย่างท่าเรือน้ำลึก ทำให้สะดวกและง่ายต่อระบบโลจิสติก ช่วยให้ประหยัดเวลาและต้นทุนได้เป็นจำนวนมาก
สำหรับจังหวัดนครปฐม มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครปฐม (GPP) 1.32 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก คิดเป็นมูลค่า 70,512 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 49 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งจังหวัด มีโรงงานทั้งหมด 3,592 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก และโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น มีจำนวนเงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 4,021 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอสามพราน นครชัยศรี พุทธมณฑล เป็นต้น มีจุดเด่นที่อยู่ห่างจากกรุงเทพเพียง 50 กม. และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชื่อดัง จึงมีศักยภาพทางด้านการศึกษา
ขณะที่จังหวัดสมุทรสาคร มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสมุทรสาคร (GPP) 3.5 แสนล้านบาท มีโรงงานทั้งหมด 5,944 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและเกษตรแปรรูปตั้งอยู่ในอำเภอเมือง และอำเภอกระทุ่มแบน เป็นส่วนใหญ่
ด้านจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชลบุรี (GPP) 4.60 แสนล้านบาท เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยายนยนต์ โลหะและเกษตรแปรรูป เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมถึง 5 แห่ง 1 สวนอุตสาหกรรม และมีโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 4,839 แห่ง จังหวัดชลบุรีมีความโดดเด่นระดับประเทศ เนื่องจากมีระบบสาธารณูปโภคครอบคลุมทุกด้าน มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ถึง 80 กิโลเมตร และไม่ไกลจากสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการลงทุน และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของภาคตะวันออก โดยเฉพาะการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว จึงเป็นจุดดึงดูดของนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ตามในภาพรวมของทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว ยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
"กสอ.คาดหวังว่าพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด จะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดโดยเฉพาะในเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
นางอรรชกา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จ.สุพรรณบุรี และ ภาคที่ 9 จ.ชลบุรี และสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วสำหรับหลักสูตรที่ฝึกอบรมเป็นการบูรณาการ 4 หลักสูตรเข้าด้วยกันเพื่อเป้าหมายสร้างผู้ประกอบการให้มีความ “เก่ง และดี" ได้แก่ 1. การเสริมสร้างลักษณะของผู้ประกอบการที่มีความสามารถและมีธรรมาภิบาล 2. การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ 3. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน และ 4. การเสริมความรู้เรื่องการจัด ตั้งธุรกิจมุ่งเน้นที่การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC “ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ผ่านกระบวนการ “เรียนดี เรียนลัด" โดยวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์จริง
สำหรับการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น จำเป็นที่บุคลากรแขนงต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ อาทิ การตลาด มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ (Value Creation) และแสวงหาตลาดใหม่ ๆ การผลิต มุ่งเน้นการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต รวมถึงการประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ ทั้งทรัพยากรมนุษย์ และการเงิน เนื่องจากในอนาคตมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมด้านเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ ผู้ประกอบการและแรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น