1.มาตรการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต เป้าหมายผลผลิต 27,870 ตัน วงเงิน 46.29 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) กระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต วงเงิน 39.75 ล้านบาท เป้าหมายผลผลิต 15,900 ตัน โดยสนับสนุนเงินชดเชยค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการผลผลิต ในอัตรากิโลกรัมละ 2.50 บาท
(2) เสริมสภาพคล่องในการซื้อขายผลไม้ วงเงิน 6.54 ล้านบาท เป้าหมายผลผลิต 11,970 ตัน โดยสนับสนุนเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ต่อปี ที่กู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส. วงเงินกู้รวมไม่เกิน 218 ล้านบาท
ทั้งนี้ การช่วยเหลือค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการผลผลิตข้างต้น ให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติการกำกับดูแล และระดับราคาผลไม้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือเช่นเดียวกับปีก่อน โดยให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรและได้รับราคาจำหน่ายผลผลิตที่เป็นธรรมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต และให้มีผู้แทนเกษตรกร ร่วมพิจารณาด้วย
2. มาตรการส่งเสริมการแปรรูป เป้าหมายผลผลิต 850 ตัน วงเงินรวม 3.25 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) ส่งเสริมการแปรรูปมังคุดและเงาะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (จ.ตราด) เป้าหมาย 500 ตัน วงเงิน 0.45 ล้านบาท โดยสนับสนุนเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 15 ล้านบาท.
(2) การจัดหาวัตถุดิบในการแปรรูป (จ.จันทบุรี) เป้าหมาย 350 ตัน สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย 2.8 ล้านบาท
ที่ประชุมได้อนุมัติให้ขยายระยะเวลาโครงการเงินกู้เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตในการทำนา ฤดูการผลิตปี 2547/48 จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2554 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2557 เพื่อให้กรมการปกครองเร่งรัดติดตามการชำระหนี้คงค้างและนำเงินส่งคืนกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อปิดบัญชีโครงการต่อไป
รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรโดย คสช. มีหลักการที่ชัดเจน มุ่งลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายอย่างเคร่งครัด อาทิ การควบคุมราคาและคุณภาพของปัจจัยการผลิตเช่นปุ๋ย การดำเนินมาตรการและกลไกที่มีอยู่เพื่อดูแลในเรื่องค่าเช่าที่นา เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ได้กำชับในที่ประชุมให้หัวหน้าส่วนราชการลงไปกำกับดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การช่วยเหลือชาวนาและเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล