“มาตรการ EERS เป็นมาตรการที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐไม่มาก และยังลดใช้พลังงานอย่างได้ผลในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษามาตรการและวิธีการดำเนินการที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบการปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ รวมถึงเงื่อนไขในการดำเนินการ เพื่อให้ได้มาตรการ EERS ที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป" ผอ.สนพ.กล่าว
ปัจจุบัน มาตรการ EERS ได้มีการนำมาใช้ทั้งในยุโรปและเอเชีย อาทิ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก จีน เกาหลีใต้ รวมถึง 48 รัฐในสหรัฐอเมริกา โดยแต่ละแห่งมีการดำเนินงานหรือมาตรการจูงใจให้เกิดการลดการใช้พลังงาน ต่างกันไปตามความเหมาะสมของประเทศนั้นๆ อาทิ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตั้งเป้าลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงปี 2012 – 2020 ลง 4,541 เมกะวัตต์ โดยใช้มาตรการทางการเงิน ติดตั้งอุปกรณ์ ปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์อาคาร เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนประเทศจีน กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า ลดการผลิตไฟฟ้าลงให้ได้ร้อยละ 3 เทียบกับปีก่อนหน้า โดยใช้มาตรการจูงใจผู้ประกอบการด้วยการสนับสนุนด้านการเงิน และมีการเปลี่ยนระบบแสงสว่าง บอยเลอร์ ลดการสูญเสียความร้อนได้ เป็นต้น