พร้อมทั้ง เสนอมาตรการเร่งด่วนระยะสั้นเพื่อยกระดับราคายางให้อยู่ในจุดสมดุลกับผลิตภัณฑ์ยาง ดังนี้ 1. ประกาศลดความต้องการขาย เพื่อเพิ่มความต้องการของผู้ซื้อในตลาดซื้อขายยางล่วงหน้า นำยางในสต๊อคของประเทศมาทำยุทธภัณฑ์ โดยให้กองทัพซื้อมาเก็บไว้ และส่งเสริมการใช้ภายในประเทศ และประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตหลักจะไม่ส่งเสริมให้มีการปลูกยางเพิ่มจนกว่าราคายางจะดีขึ้น
2. ส่งเสริมให้พ่อค้ายางซึ่งมีเครือข่ายการส่งออกกับต่างประเทศแข่งขันการซื้อและเก็บสต็อค โดย คสช.สนับสนุนเงินทุนและสต็อคเครดิต
3. คสช.ควรจะเข้าไปเจรจากับประเทศผู้ผลิตหลักในระดับผู้มีอำนาจสูงสุด เพื่อกำหนดมาตรการทางบวกร่วมกัน และประกาศอย่างเป็นทางการ
4. หากราคายังไม่ดีขึ้น ประเทศผู้ผลิตหลัก โดยเฉพาะประเทศไทยจะต้องดำเนินการชี้นำการตลาดกำหนดราคาเป้าหมายยางแผ่นดิบที่ราคากิโลกรัมละ 80 บาท และยกระดับไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ประเทศอุสาตหกรรมยางยอมรับได้ รวมถึงต้องมีมาตรการให้ถึงมือเกษตรกรและไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น
สำหรับมาตรการระยะยาว เสนอให้ 1. ประเทศไทยกำหนดโซนนิ่งผลผลิตทางการเกษตรอย่างจริงจัง
2. ส่งเสริมการแปรรูปยางและผลิตภัณฑ์ยางอย่างจริงจัง เช่นจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ขององค์การสวนยาง สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแก่ผู้ประกอบการ เพราะประเทศไทยนำยางมาแปรรูปได้แค่ 10% แต่มีมูลค่าถึง 200,000 ล้านบาท ซึ่งหากแปรรูปได้ 50 % เหมือนมาเลเซียจะมีมูลค่ามหาศาล
3. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนายางเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ และอุทยานวิทยาศาสตร์การยางเพื่อให้ภาคเอกชนมาร่วมและลงทุนในเชิงพาณิชย์
4.นำไทยให้เป็นศูนย์กลางอาเซียนด้านยางพารา แทนการแข่งขันกันเปิดกว้างส่งเสริมการลงทุน และเป็นผู้นำในการเจรจาต่อรอง โดย คสช.ต้องประกาศเลยว่าคืนความสุขให้ชาวสวนยาง ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลต่อจิตวิทยาการตลาดทันที และราคายางจะยกระดับตามมา โดยหัวหน้า คสช.ต้องลงมือจัดการเองด้วยความจริงใจ