อย่างไรก็ตาม หากราคาประมูลสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ก็จะนำเสนอขอวงเงินเพิ่มเติมกับคณะรัฐมนตรี(ครม.)แต่คาดว่าคงไม่ล่าช้าไปมาก
สัญญาที่ 1 งานโยธา ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มูลค่างาน 14,021 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธา ช่วงสะพานใหม่-คูคต มูลค่างาน 6,126 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ก่อสร้างงานโยธา ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษาและอาคารจอดรถ มูลค่างาน 3,709 ล้านบาท และสัญญาที่ 4 งานออกแบบ จัดหาและติดตั้ง งานระบบรางรถไฟฟ้า มูลค่างาน 2,609 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีการกำหนดค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด(Provision Sum) อีกราว 2.6 พันล้านบาท
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กิโลเมตร นั้นคณะกรรมการ รฟม.เห็นด้วยกับการศึกษาในปี 53 ที่ว่าควรจะใช้วิธีเจรจาให้ผู้ประกอบการรายเดิมเป็นผู้เดินรถ เพื่อประหยัดงบลงทุน ประหยัดเวลา และเกิดความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 13 ที่จะประชุมหารือกันในสัปดาห์หน้า จากนั้นส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ(สศช.) และกระทรวงการคลังพิจารณา จึงจะเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(ศสช.)อนุมัติ
ทั้งนี้ ตามแผนกำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปลายปี 60 ซึ่งขณะนี้งานโยธาก้าวหน้าไปกว่า 50% แล้ว
ขณะเดียวกันนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ. บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL) กล่าวว่า บริษัทได้แจ้งความจำนงแล้วว่าต้องการเดินรถสายสีนำเงินส่วนต่อขยาย เพื่อจะได้ช่วยประหยัดงบลงทุนและลดต้นทุนของโครงการดังกล่าว เนื่องจากไม่ต้องลงทุนศูนย์จอดรถอีก รวมการซ่อมบำรุงก็ลดลง และสามารถให้บริการได้ต่อเนื่องจากเส้นทางปัจจุบันที่ BMCL ให้บริการอยู่แล้วช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร ดังนั้น หาก BMCL เป็นผู้เดินรถมั่นใจว่าจะได้ราคาถูกกว่าคู่แข่ง
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะใช้รถไฟฟ้า 28 ขบวนๆ ละ 3ตู้ ซึ่ง รฟม.เป็นผู้ลงทุนแต่จัให้บริษัทจัดหาให้ก่อนหมือนการจ้างการให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง