"กรมรางจะช่วยฟื้นฟู ร.ฟ.ท.เนื่องจากจะแยกส่วนงานการลงทุนก่อสร้างออกมาให้กรมรางรับผิดชอบ เหมือนกรมทางหลวง (ทล.) ที่ได้รับงบประมาณในการ ลงทุนก่อสร้างถนน ส่วนการกำกำกับดูแลความปลอดภัยและกำหนดค่าโดยสารจะเป็นบทบาทเช่นเดียวกับ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยร.ฟ.ท.ยังคงทำหน้าที่ในการเดินรถ รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่ารางเพื่อเดินรถ" นายชัยวัฒน์กล่าวในการเสวนาเรื่อง"พัฒนาระบบขนส่งรางของประเทศไทย ทำอย่างไร?"
สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่นั้น สนข.จะรับผิดชอบการพัฒนาในระดับนโยบาย และการนำไปสู่การปฎิบัติ เพื่อนำเสนอขออนุมัติ คสช. โดยในระหว่างที่กรมรางยังจัดตั้งไม่แล้วเสร็จ ให้ ร.ฟ.ท. ทำหน้าที่ก่อสร้างไปก่อน และในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบรางในจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช สงขลา ซึ่งกรมรางจะเข้ามาทำหน้าที่ในการทำแผนและนำเสนอการลงทุน ส่วนการเดินรถจะให้องค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบ ดังนั้น เมื่อจัดตั้งกรมรางแล้วเสร็จจะทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น