"เศรษฐกิจไทยในปี 57 คาดว่าจะขยายตัว 1.5-2.0% โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว 2.0% การบริโภคของครัวเรือนขยายตัว 0.8% การลงทุนรวมหดตัว 2.0% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง 1.9-2.4% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.6% ของ GDP"รายงาน สศช.ระบุ
สศช. มองว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปีตามการใช้จ่ายภาครัฐ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นและส่งผลดีต่อการใช้จ่ายและการลงทุน รวมทั้งการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ได้ปรับลดประมาณการทั้งปีนี้ลงเนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองขยายตัวได้ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองยืดเยื้อต่อเนื่อง การส่งออกขยายตัวช้า และการหดตัวของ การจำหน่ายรถยนต์
และ การขยายตัวในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มต่ากว่าศักยภาพ เพราะยังมีข้อจ่ากัดส่าคัญ 4 ประการ คือ ประการแรก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้า และราคาสินค้าส่งออกลดลง ประการที่สอง การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาและตลาดท่องเที่ยวมีการแข่งขันกันมากขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเปลี่ยนจุดหมายการเดินทางท่องเที่ยว ประการที่สาม อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำและความล่าช้าในการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการขยายตัวของการลงทุน และ ประการที่สี่ การจำหน่ายรถยนต์และการผลิตรถยนต์ยังคงปรับตัวลงจากฐานการจำหน่ายที่สูงในปีก่อน
"ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำ แม้ว่าการแก้ไขปัญหาทางการเมืองจะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจและการเบิกจ่ายของภาครัฐดีขึ้นก็ตาม"สศช.ระบุ
ส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/57 ขยายตัว 0.4% ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัว 0.5% ในไตรมาสแรก ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออก แต่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว ในด้านการผลิต สาขาเกษตรขยายตัว ในขณะที่สาขาอุตสาหกรรม และก่อสร้างหดตัวช้าลง แต่สาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวต่อเนื่องตามการหดตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/57 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 57 ที่ 0.9% (QoQ_SA %) เมื่อรวมกับไตรมาสแรก เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 57 หดตัว 0.1%