โดยสภาอุตสาหกรรมฯ มีความเห็นว่าการที่จะพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น จะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการดูแล SMEs 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1. ปรับปรุงกลไกการส่งเสริม SMEs ดังนี้ 1.1 การบูรณาการการทำงานภาครัฐในการพัฒนายกระดับ SMEs โดยให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี 1.2 สสว. ควรมีบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์ของภาครัฐที่ให้การส่งเสริม SMEs อย่างชัดเจน
1.3 พิจารณาปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม SME โดยจำแนกออกเป็นหน่วยงานด้านนโยบาย (Policy Maker) หน่วยปฏิบัติ (Implementer) และหน่วยงานสนับสนุน (Support Service Provider) 1.4 กำหนดหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน และจัดทำตัวชี้วัด SME KPI เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ว่าเป็นไปตามยุทธศาสตร์และแผนส่งเสริม SMEหรือไม่ อย่างไร 1.5 ให้แต่ละหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บูรณาการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน (Support Program) ตามช่วงของการดำเนินธุรกิจ (Life Cycle) ของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านแผนงานและโครงการต่างๆ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม SMEs
1.6 จัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการและต่อเนื่องเพื่อการส่งเสริม SMEs โดยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการงบประมาณผูกพันระยะยาว 3-5 ปี สำหรับกองทุนส่งเสริม SMEs หรืออาจพิจารณาออกกฎหมายพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินนอกงบประมาณ เพื่อสร้างหลักประกันระยะยาวในการส่งเสริม SMEs อย่างต่อเนื่อง 1.7 ปรับแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินจากกองทุนส่งเสริม SMEs ให้เอื้อต่อการส่งเสริม SMEs และการทำงานร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน โดยมุ่งให้เกิดความคล่องตัวบนพื้นฐานของธรรมภิบาลที่ดี โปร่งใส และตรวจสอบได้ 1.8 เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยให้กระจายอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่งเสริม SMEs ไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาคสามารถเข้าถึงการให้บริการส่งเสริม SMEs ได้ง่ายและสะดวกขึ้น
2. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา SMEs ดังนี้ 2.1 ปรับปรุงภาษีกฎระเบียบและกฎหมายธุรกิจที่เป็นอุปสรรคภาครัฐต่อการดาเนินธุรกิจของSME ด้วยการผลักดันให้นำภาษีเงินได้นิติบุคล 1% มาใช้เป็นกองทุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือ 10-15% ให้กับผู้ประกอบการ SMEs
2.2 สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ SMEs เข้าสู่ระบบ เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้ง่ายขึ้น เช่น มีระยะเวลาผ่อนปรนการลงโทษให้กับ SMEs นอกระบบเพื่อให้เข้าสู่ระบบ 2.3 แก้ไขนิยามของ SME ให้เป็นนิยามเดียวกันทุกหน่วยงาน เพื่อความสะดวกในการให้บริการ 2.4 อำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนต่างๆ อาทิ การจดทะเบียน รง.4 การขึ้นทะเบียนอาหาร การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นต้น 2.5 การปรับลดค่าธรรมเนียมหรือค่าเบี้ยปรับต่างๆ การอำนวยความสะดวกและปรับเปลี่ยนรูปแบบการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับธุรกิจ SMEs
3. ส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน 3.1 เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับบทบาทและเงื่อนไขการให้สินเชื่อหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ SME Bank ให้สามารถอนุมัติสินเชื่อให้กับ SMEs ได้มากขึ้น 3.2 ปรับหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ของ บสย. จาก 18% เป็น 30-50% 3.3 ปรับปรุงประวัติเครดิตบูโร ของ SMEs ที่ประสบปัญหาจากการชุมนุมทางการเมืองหรือ ภัยพิบัติต่างๆ สำหรับในส่วนของสภาอุตสาหกรรมฯ เองนั้น กำลังร่วมกับสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำระบบสนับสนุนทางการเงินให้กับ SMEs โดยเฉพาะสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯในการเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น
4. พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ ประกอบด้วย 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่การลดต้นทุนพลังงาน และการพัฒนาฝีมือแรงงาน 4.2 ยกระดับการผลิตสินค้าและบริการของSMEให้ได้มาตรฐาน ทั้งมาตรฐานบังคับตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละธุรกิจและมาตรฐานในระดับสากล 4.3 พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการและสร้างระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยี นวัตกรรมสำหรับ SME เพื่อบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน 4.4 ผลักดันให้มีการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมที่เกื้อหนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน และการดำเนินงานระหว่าง SME ด้วยกัน รวมทั้งเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ 4.5 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสาคัญต่อการพัฒนา SME ในอนาคต 4.6 พัฒนาตราสินค้าและส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
5. สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่SME 5.1 จัดกิจกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้า SME ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้สินค้าและกระตุ้นยอดขาย 5.2 พัฒนาและสนับสนุนให้ SME นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ การสื่อสารการตลาด การประชาสัมพันธ์ และระบบการค้ารูปแบบใหม่ 5.3 พัฒนาศักยภาพของSME ในการเข้าสู่การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ 5.4 สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้SME ที่มีศักยภาพให้มีโอกาสในการแสวงหาลู่ทางการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ 5.5 ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน 5.6 ส่งเสริมย่านการค้าเพื่อส่งเสริม SME ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสถาบัน SMI มีกิจกรรมที่เป็นแผนงานและกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้วในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs โดยอาศัยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้ SMEs เป็นวาระแห่งชาติดังนี้ เพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ เพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่SME ทั้งตลาดในประเทศ และ ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ASEAN SME Expo ในเวที ASEAN-SME Advisory Board เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำ SMEs ของไทยใน ASEAN
"สภาอุตสาหกรรมฯ ได้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ในการผลักดันให้สสว.ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานให้บูรณาการกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ SMEs โดยขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอย่างไรก็ตามในระหว่างรอมาตรการ หรือนโยบายในการช่วยเหลือ SMEs ที่เริ่มทยอยออกมานั้น สถาบัน SMI ในฐานะภาคเอกชนซึ่งมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดูแล ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในภาคการผลิต ได้เริ่มเดินหน้าผลักดันในการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยใน 6 เรื่องข้างต้นแล้ว"นายศักดิ์ชัย กล่าว