ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศเตรียมเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้าและการเงิน เพื่อเสริมสร้างให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างทางภาษี โดยเตรียมเดินหน้า 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ 6 ด่านชายแดนรองรับการค้าขาย และเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผ่าน โครงการลงทุนขนาดใหญ่ และการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ในส่วนของการการบูรณการอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก เพื่อเพิ่มความเป็นปึกแผ่นมีอำนาจในการเจรจาต่อรองกับเวทีโลกได้
"สิ่งที่ต้องทำให้ขณะนี้ คือ สร้างการค้าระหว่างประเทศจะเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้า และการเงินเพื่อเสริมสร้างให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตร่วมกัน รวมถึงพัฒนาโครงสร้างภาษี และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งพัฒนาเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และพัฒนาให้แข่งขันได้ในอาเซียน โดยกระทรวงการคลัง ดูในเรื่องด้านภาษี หนังสือผ่านแดน การตั้งบริษัทในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะได้สิทธิภาษีอย่างไรบ้าง" นายรังสรรค์ กล่าว
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ส่วนนโยบายการเติบโตด้านเศรษฐกิจแบบสีเขียวนั้น ได้เตรียมพร้อมทั้งการคลังและด้านอื่น เพื่อให้ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจพร้อมรองรับการแข่งขันในรูปแบบการเติบโตแบบ อนุรักษ์ความเป็นห่วงสิ่งแวดล้อม จึงต้องใช้กฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมออกมาควบคู่กันไปด้วย โดยขณะนี้ สศค. กำลังศึกษากฎหมายดังกล่าว เพื่อเตรียมเสนอ คสช.พิจารณา