"ถ้าเราไม่เร่งวางแผนหาปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว เราก็จะต้องนำเข้า LNG มากขึ้น ซึ่งก๊าซ LNG มีราคาแพงกว่าก๊าซที่หาได้ในประเทศ" นายคุรุจิต กล่าว
ทั้งนี้ โดยเปรียบเทียบราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ 8 เหรียญสหรัฐ/ล้าน BTU ส่วนก๊าซ LNG มีราคาอยู่ที่ 15-16 เหรียญสหรัฐ/ล้านBTU หากนำเข้า LNG เพิ่มขึ้น แนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าก็จะสูงขึ้นจากปัจจุบันที่ 4บาท/ยูนิต เป็น 5-7 บาท/ยูนิตได้ฃ
นายคุรุจิต กล่าวว่า ดังนั้นจึงต้องเร่งเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียม ได้แก่ หาข้อสรุปแนวทางการบริหารจัดการสัมปทานที่จะสิ้นสุดสัมปทานในปี 65 ของทั้งแหล่งที่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) และเชฟรอนเป็นเจ้าของสัมปทาน ซึ่งผลิตได้ประมาณ1,500 - 1,700 ล้านลบ.ฟุต/วัน, การเร่งเปิดประมูลสัมปทานรอบที่ 21 ซึ่งกระทรวงเตรียมด้านเทคนิคไว้พร้อมเสนอ รมว.พลังงานคนใหม่พิจารณา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาที่ต้องเร่งหาข้อยุติ อีกทั้งลดการพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีอัตราส่วนการใช้ 70% ของพลังงานทั้งหมด
อย่างไรก็ดี ณ สิ้นปี 56 มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว 8.4 ล้านล้านลบ.ฟุต/วัน ลดลงจากปี 49 ที่มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วที่ 10.7 ล้านล้านลบ.ฟุต/วัน