การใช้นโยบายเงินเฟ้อพื้นฐานมาเป็นกรอบเงินเฟ้อทั่วไปให้สะท้อนกับค่าครองชีพประชาชน ที่รวมปัจจัยต้นทุนพลังงานและราคาสินค้า และเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ใช้นโยบายการเงินโดยยึดตามกรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม การหารือวันนี้เป็นเพียงการเสนอแนวคิดเบื้องต้นให้กระทรวงการคลังพิจารณาก่อนจะส่งเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
"ได้เสนอเป็นกรอบนโยบายอัตราเงินเฟ้อให้ รมว.คลังพิจารณาไปแล้ว จากนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณา ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะต้องแล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้" ผู้ว่าธปท. กล่าว
นายประสาร กล่าวว่า รมว.คลัง ยังได้สอบถามถึงการดูแลนโยบายการเงินอื่นๆ เช่น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน และการติดตามปัญหาในระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ รวมถึงสิ่งที่ ธปท.กำลังดำเนินการ เช่น กฎหมายต่างๆ ช่องว่างที่ต้องปรับปรุง แผนการเคลื่อนย้ายเงินทุน ระยะที่ 2 การส่งเสรริมระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์(ดิจิตัลแบงก์กิ้ง) ซึ่ง รมว.คลัง เห็นชอบในแนวทางดังกล่าวแผนการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ และ การเงินในระบบรากหญ้า
"นโยบายการเงินจะต้องประสานงานร่วมกับนโยบายการคลัง ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นตามภาวะเศรษฐกิจ หากนโยบายการคลังมีความเข้มข้นมาก นโยบายการเงินก็ต้องผ่อนคลาย แต่หากนโยบายการคลังมีความผ่อนคลาย นโยบายการเงินก็ต้องไม่ผ่อนคลายมากจนเกินไปด้วย ซึ่งจากนี้ได้รับโจทย์จาก รมว.คลังหลายเรื่อง ก็คงต้องไปดำเนินการต่อ แต่ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงหรือกังวลแต่อย่างใด" ผู้ว่าธปท. ระบุ