"แผนที่เราจะเสนอครม.พรุ่งนี้ เป็น 1 ในแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล....ตอนนี้เรามีเงินประมาณเกือบ 2 พันล้านบาท เป็นเงินที่ค้างมาจากไทยเข้มแข็งส่วนหนึ่งและเป็นเงินของกระทรวงเกษตรฯอีกส่วนหนึ่ง อาจจะขอเพิ่มเติมเพราะงานที่ต้องซ่องบำรุงมีเยอะและต้องซ่อมบำรุงทั่วประเทศ คาดว่าคงจะทำในฤดูกาลที่จะถึงนี้ราวเดือนพ.ย." รมว.เกษตรฯ กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์
2.การปรับโครงสร้างจัดโซนนิ่งพืชบางชนิดให้สอดคล้องกับเขตเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งกำลังคำนวณงบประมาณ คาดว่าจะสัปดาห์หน้าจะมีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่เบื้องต้นมีแผนจะทำกับยางและข้าวก่อน แต่คาดว่าจะมี 3 วิธีการ คือ 1.ปรับให้เข้ากับเขตเศรษฐกิจ 2.เร่งเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตของมีคุณภาพ 3.ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เช่น ทำไร่นาสวนผสม
นายปีติพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนของยางพารา ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งคือยางที่ปลูกในเขตหวงห้ามขยายตัวไปเยอะ ซึ่งกระทรวงฯกำลังหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการปรับโครงสร้างยางพาราเท่าที่ตนได้รับฟังความเห็นจากเกษตรกรพบว่าส่วนใหญ่อยากปรับบางส่วนให้เป็นกษตรผสมผสานแทนที่จะตัดต้นยางทั้งหมด ขณะเดียวกันจะเพิ่มขีดความสามารถขององค์การสวนยาง (อสย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการตัดโค่นต้นยางจาก 2 แสนไร่เป็น 4 แสนไร่ซึ่งจะลดอุปทานไปได้ประมาณ 6 ปี เพราะต้นยางใหม่ที่จะปลูกต้องใช้เวลา 6 ปี
สำหรับยางในสต็อกประมาณ 2.1 แสนตันซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกับบริษัท ยี่ฟังเหลียน จำนวน 1 แสนตันนั้น ล่าสุดพบว่าบริษัทดังกล่าวทำผิดสัญญา ไม่มีการวางเงิน ไม่มีการเปิด L/C จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบรายละเอียดสัญญาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ในส่วนของข่าวยางในสต็อกเน่า ได้ให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบแล้วว่าคุณภาพยางในสต็อกเป็นอย่างไร
ส่วนเรื่องการระบายยางในสต็อกนั้นก็ต้องดูให้รอบคอบ เพราะขณะนี้ราคายางตก ต้องดูเงื่อนไขทางผู้ซื้อ แต่ถ้าไม่ระบายก็จะมีภาระค่าใช้จ่ายตามมา
"ซี๊ซั้วทำไม่ได้ ต้องระมัดระวังมากเรื่องแบบนี้ เพราะรับอาสามาช่วยประชาชน ก็ต้องดูแลผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก"รมว.เกษตรฯ กล่าว