เนื่องจากยังมียางในสต็อกจำนวน 208,076 ตัน และยังไม่ได้ขายออกไป ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสต็อกยาง จึงต้องขอขยายเวลาโครงการนี้ออกไป
ด้านนายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนระบบสหกรณ์เพื่อให้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องยางพาราเพิ่มเติม ให้แก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย โดยให้ขยายไปถึงวิสาหกิจชุมชนประมาณ 300 กลุ่ม ให้สามารถเข้าร่วมโครงการทำหน้าที่รวบรวมยางพารา จากมติ ครม.เดิมที่ได้มีมติเห็นชอบไปวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท
โดยให้ขยายไปถึงกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน รวมถึงสมาชิกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูป การผลิต การตลาด การรวบรวมยางพาราที่มีการรวมตัวสมาชิกตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มีการออมเงินสม่ำเสมอและมีการทำระบบบัญชี ให้สามารถขอรับสินเชื่อจาก ธ.ก.ส.ได้ โดยระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ย.57 สิ้นสุด 31 ธ.ค. 58 เพื่อเพิ่มความสามารถให้แก่ระบบสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนสามารถเข้ามาทำหน้าที่รวบรวมยางพาราเพื่อดูแลศักยภาพยางพาราเพื่อให้ดีขึ้น
ธ.ก.ส.ได้เริ่มโครงการช่วยเหลือยางพารา แบ่งเป็น 1 หมื่นล้านบาท ที่ใช้อุดหนุนวิสาหกิจชุมนุน อีก 5 พันล้านบาท เป็นสินเชื่อให้เกษตรกรเพื่อไปปรับปรุงโรงเรือน หรือเครื่องมือ เครื่องจักรในการรวบรวมยางพารา รวมทั้งสภาพคล่องให้กับสหกรณ์มีเงินสำหรับซื้อยางมาแปรรูป รวมเป็น 15,000 ล้านบาท