อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะดูดีขึ้น แต่ขณะนี้ ธปท.ก็ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้าที่ 4.8% ซึ่งมีโอกาสทั้งเติบโตได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
นายประสาร กล่าวในการสัมมนาทางวิชาการของ ธปท.หัวข้อ“มิติใหม่ของภาคการเงิน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน"ว่า ประสบการณ์ของหลายๆ ประเทศชี้ให้เห็นว่าภาคการเงินมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ขนาดของภาคการเงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับรายได้ต่อหัวของแต่ละประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทพื้นฐานของภาคการเงินในการรองรับธุรกรรมต่างๆ การกู้ยืม การออม และการบริหารความเสี่ยง ล้วนเป็นปัจจัยที่กระทบต่อประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนของภาคการเงินที่สูงขึ้นนั้นมีส่วนช่วยในการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ผ่านการสะสมทุน แต่ยังช่วยให้ประสิทธิภาพในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นด้วย ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มก่อตั้งกิจการ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลงทุนและขยายขนาดของกิจการตามศักยภาพที่แท้จริง รวมทั้งการสร้างและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
ในขณะเดียวกัน ภาคการเงินยังมีบทบาทในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้ต่ำ โดยนอกจากผลโดยตรงที่มาจากการลดข้อจำกัดทางการเงิน เช่น การเพิ่มความสามารถในการเปิดกิจการใหม่และการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น ประชาชนในกลุ่มนี้ยังอาจได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มาควบคู่กับการพัฒนาระบบการเงิน ซึ่งสร้างโอกาสให้แรงงานนอกระบบย้ายเข้ามำทำงานในระบบ
"ภาคการเงินที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะเป็นผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้ด้วย"นายประสาร กล่าว
ทั้งนี้ การพัฒนาระบบการเงินต้องไม่ละเลยมิติของความยั่งยืน วิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่เกิดขึ้นหลายครั้งในอดีตแสดงให้เห็นว่าการจัดสรรทุนที่เกินพอดีไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในระยะสั้น แต่สามารถบั่นทอนศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย ยกตัวอย่างกรณีของสหรัฐฯ ที่เป็นศูนย์กลางของวิกฤตเศรษฐกิจในปี 51 มีรายได้ ณ สิ้นปี 56 หรือ 5 ปีให้หลังกกิดวิกฤตต่ำกว่ำระดับรายได้ที่ควรจะเป็นตามแนวโน้มเดิมถึง 13% หากเทียบเคียงกับกรณีประเทศไทย 5 ปีหลังจากวิกฤตปี 40 ระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ของไทยอยู่ต่ำกว่ำแนวโน้มก่อนหน้า 22% การสูญเสียรายได้ของประเทศขนาดนี้เป็นต้นทุนมหาศาลของความล้มเหลวในการรักษาความยั่งยืนของเสถียรภาพระบบการเงิน
การดูแลภาคการเงินจึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับการรักษาเสถียรภาพ เพื่อนำไปสู่ความพอดี ซึ่งเป็นสิ่งยากและละเอียดอ่อน เช่น กรณีของไทยที่ยังมีช่องว่างมากในการเข้าถึงแหล่งทุน โดยผลสำรวจปี 56 ชี้ให้เห็นว่ามีเพียง 41% ของผู้ประกอบการ SME กว่า 2.7 ล้านรายที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ เช่นเดียวกันกับภาคครัวเรือนที่เข้าถึงบริการด้านสินเชื่อจากภาคการเงินได้ไม่ถึง 40% ขณะเดียวกันหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปรับขึ้นมาอยู่ที่ 83% ก็กำลังเป็นที่จับตาในช่วงนี้ว่าจะสะท้อนความเปราะบางทางการเงินมากน้อยเพียงใด
ที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการพัฒนาเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบการเงินไทยมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการและเครื่องมือที่หลากหลาย สำหรับแนวทำงในการกำหนดนโยบำย ผมอยากเน้นเป้าประสงค์ 5 ประการด้วยกันที่สามารถยึดถือเป็นหลักในการพัฒนาและดูแลภาคการเงิน ซึ่งประกอบด้วย ความลึก ความกว้าง ความทั่วถึง ความยุติธรรม และความยั่งยืน
ความลึก หมายถึง ความสามารถของระบบการเงินในการรองรับธุรกรรมขนาดใหญ่ได้ตามความต้องการของระบบเศรษฐกิจความกว้าง หมายถึง การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครอบคลุม ทั้งจากตลาดทุนและสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ประสานกันความทั่วถึง หมายถึง การที่ผู้ประกอบการและประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน และผู้ที่มีศักยภาพที่แท้จริงสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ความยุติธรรม คือ ราคาของบริการทางการเงินที่เหมาะสม โดยผู้ใช้บริการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอถูกต้องและได้รับความคุ้มครอง และความยั่งยืน หมายถึง ความมีเสถียรภาพของระบบกาเงินโดยรวมในระยะยาว
หากพิจารณาในองค์รวม จะเห็นได้ว่าแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านมามุ่งที่จะบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกำรส่งเสริมการแข่งขัน การผลักดันเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบ e-payment การผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ หรือการส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินของประชาชน ต่างกันเพียงการให้น้ำหนักระหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติ ซึ่งจำเป็นต้องแปรผันตามบริบทของเศรษฐกิจและสังคม และเป็นโจทย์ที่สำคัญของผู้ดำเนินนโยบาย
ยกตัวอย่างในประเทศที่พัฒนาแล้ว มิติด้านความลึก กว้าง และทั่วถึงมักจะอยู่ในระดับที่ดี การให้น้ำหนักจึงค่อนไปทำงความยุติธรรมและความยั่งยืนมากกว่า ดังเช่นในกรณีของวิกฤตการเงินโลกในปี 51 ที่สะท้อนปัญหาด้านความมั่นคงของระบบการเงิน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาระบบการเงินจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่าง ความลึก ความกว้าง ความทั่วถึง ความยุติธรรม และความยั่งยืน อยู่เสมอโดยไม่โน้มไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไปจนละเลยด้านอื่นๆ
นายประสาร กล่าวว่า ความท้าทายในการดูแลระบบการเงินที่ควรเน้นก็คือการเข้าใจความเชื่อมโยงเชิงระบบ ระหว่างแต่ละองค์ประกอบของภาคการเงินนั่นเอง ระบบเศรษฐกิจการเงินปัจจุบันเป็นระบบที่มีความซับซ้อนเชิงพลวัตร(complex dynamical system)ที่ไม่อาจจะคาดเดาได้จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของแต่ละองค์ประกอบโดยลำพัง ในการรักษาเสถียรภาพและการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบการเงิน จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความเชื่อมโยง ระหว่างสถาบันการเงินแต่ละประเภท ระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบการและประชำชน ระหว่างระบบสถาบันการเงินกับตลาดเงินและตลาดทุน ระหว่างภาคการเงินในประเทศกับนอกประเทศ รวมทั้ง ระหว่างเครื่องมือนโยบายต่างๆ ภายใต้ผู้กำกับดูแลภาคการเงินที่หลากหลาย