อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยล้างช่วงบวกลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ตามแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้นำเข้า และนักลงทุนหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ในวันศุกร์ (24 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.42 เทียบกับระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 ต.ค.) ค่าเงินบาท
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (27-31 ต.ค.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากถ้อยแถลงหลังการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วันที่ 28-29 ต.ค. นี้ ซึ่งน่าจะเป็นรอบการประชุมที่มีการยุติมาตรการ QE อย่างเป็นทางการ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจหนุนทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง ประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือนต.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ย. และจีดีพีประจำไตรมาส 3/57
อนึ่ง การเคลื่อนไหวของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงต้นสัปดาห์ อาจผันผวนไปตามการประกาศผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารในยูโรโซนโดยธนาคารกลางยุโรป (26 ต.ค.) ด้วยเช่นกัน