อย่างไรก็ตาม อินเดียได้คัดค้านข้อตกลงดังกล่าว โดยตั้งข้อเรียกร้องว่า ประเทศสมาชิกจะต้องเจรจาและร่วมกันกำหนดกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนสำหรับมาตรการถาวรภายใต้มาตรการเก็บสต็อคโดยรัฐเพื่อความมั่นคงอาหารเสียก่อน อินเดียจึงจะให้การรับรอง TFA ดังกล่าว
"เรื่องดังกล่าว หากการเปิดให้มีการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารหลัก เช่น ข้าว อาจกระทบการส่งออกของไทยไปยังประเทศผู้นำเข้าที่ใช้ข้ออ้างนี้ และหากมีการระบายสินค้าส่วนเกินออกสู่ตลาดโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดโลก รวมทั้งประเทศไทย จากการโดนแย่งตลาดจากประเทศเหล่านี้ได้ ซึ่ง สศก. จะติดตามความคืบหน้าของเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป"นายเลอศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ บาหลีแพ็คเกจได้กำหนดให้การอุดหนุนภายในภายใต้การเก็บสต็อคอาหารที่เป็นอาหารหลักโดยรัฐ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เป็นมาตรการชั่วคราวที่สามารถทำได้เกินกว่าข้อผูกพันเรื่องการอุดหนุนภายในของความตกลงเกษตรปัจจุบัน และให้มีประเทศสมาชิกเจรจาเพื่อให้เป็นมาตรการถาวรใน 4 ปี หรือในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 11 ในปี 2560