อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ร้อยละ 0.5-3 จึงไม่จำเป็นที่ต้องใช้นโยบายการเงินเข้ามากำกับเงินเฟ้อเท่าใดนัก โดยพบว่าเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 1.67 ขณะเดียวกัน การดำเนินมาตรฐาน QE ของประเทศญี่ปุ่นที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเป็น 80 ล้านล้านเยนต่อปีนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณมากนัก เนื่องจากความต้องการเงินเยนในตลาดเงินระหว่างประเทศมีไม่มากนัก ดังนั้นมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จึงไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงด้วยนโยบายการเงิน โดยคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยควรไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อเนื่องถึงกลางปีนี้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่า
"ช่วงที่ผ่านมา เครื่องมือทางการคลังไม่สามารถดำเนินการได้คล่องตัวนัก เพราะมีข้อจำกัดในบทบาทหน้าที่จากสถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้น แต่ ณ ปัจจุบันเครื่องมือทางการคลังสามารถดำเนินได้คล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดำเนินการแล้ว จึงเห็นควรว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ควรใช้เครื่องมือทางการคลังแทนนโยบายทางการเงิน ซึ่งสามารถดำเนินการได้คล่องตัวมากกว่า" นายมนตรี กล่าว